ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากครอบครัวด้านการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

แพรวนภา ปันฉิม
พนิดา พานิชวัฒนะ
จุฑามาศ แสงงาม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากครอบครัวด้านการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2/2565 จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบวัดการสนับสนุนจากครอบครัวด้านการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัย พบว่า การสนับสนุนจากครอบครัวด้านการเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.288) เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า การสนับสนุนด้านอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.238) และการสนับสนุนด้านทรัพยากรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.274)

Article Details

How to Cite
ปันฉิม แ., พานิชวัฒนะ พ., & แสงงาม จ. . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากครอบครัวด้านการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 5(2), 76–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/272836
บท
บทความวิจัย

References

ชินา ฮอดจ์สัน, มะลิวัลย์ โยธารักษ์และ วันฉัตร ทิพย์มาศ (2564). ปัจจัยการบริหารที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 8(2), 165-177

ซาลีฮา สาและ, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์ และจารุวรรณ กฤตย์ประชา. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำและความดันโลหิตในผู้สูงอายุมุสลิมโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 42(2), 48-51

ทิพวรรณ ปานขาว, (2552), ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการสนับสนุนจากองค์การ การสนับสนุนจากครอบครัวกับดุลยภาพของงานและครอบครัว ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR), http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18063

ธัญทิพย์ กองม่วง, (2558), การศึกษาอิทธิพลของการสนับสนุนงานจากครอบครัวต่อการตั้งใจลาออก จากงานของพนักงาน ผ่านงานที่ขัดแย้งกับครอบครัว และความเหนื่อยหน่ายในงาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. http://ethesisarchive. library.tu.ac.th/thesis2015/ TU_2015_5506035152_3442_2104.pdf

นัฐวุฒิ รอดโฉม (2563). ปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจ่าทหารเรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์โรงเรียนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 7(1), 135-148

ประคอง กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. ด่านสุทธาการพิมพ์.

ผกามาศ คงเกื้อ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อยเกล้า สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. Burapha University Library, https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7724

พระณัฐวุฒิ อคฺควฑฺฒโน, พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน และ ลำพอง กลมกูล (2565). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วราสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 9(3), 12-22

สัณฐิติ แสงจันทร์เลิศ, (2554), ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การสนับสนุนจากครอบครัว และความเครียดของผู้ประกอบการพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections.

สิทธิพร เกษจ้อย และคณะ. (2566). ขวัญและกำลังใจในการศึกษาของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 12(1), 52-67

หทัยกาญจน์ เชาวกิจ, (2553), ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR),

อทิตยา คำทวี, (2560), ผลของโปรแกรมการสนับสนุนครอบครัวต่ออาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทระยะแรก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR),

Clark-Carter, D. (2005). Percentiles. In B.S. Everitt & D.C. Howell (eds.), Encyclopedia of Statistics in Behavioral Science, 3, 1539-1540.

King, L.A., Mattimore, L.K., King, D. W., & Adams, G.A. (1995). Family Support Inventory for Workers: A new measure of perceived social support from family member. Journal of Organizational Behavior, 16(3), 235-258.