การประยุกต์ใช้ชุดคำสั่ง “WrightMap”ในโปรแกรม R สำหรับการกำหนดคะแนนจุดตัดและคำบรรยาย

Main Article Content

ถิรายุ อินทร์แปลง

บทคัดย่อ

การกำหนดคะแนนจุดตัดตามแนวคิดของ Benjamin Drake Wright เป็นแนวคิดที่อาศัยทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบของราช์สแล้วกำหนดคะแนนจุดตัดบนแผนที่โครงสร้าง หลังจากนั้นฉายภาพความสามารถบนแผนที่สภาวะสันนิษฐาน พร้อมคำบรรยายประกอบ สารสนเทศจากแผนที่สภาวะสันนิษฐานเป็นข้อมูลสำคัญที่ให้ผู้ใช้ผลการประเมินสามารถกำหนดสิ่งต่าง ๆ เช่น แนวทางการพัฒนาผู้เรียน การจำแนกกลุ่มบุคคลเพื่อเข้าโปรแกรมพัฒนาในมิติต่าง ๆ จากแนวคิดดังกล่าว Mark Wilson และคณะได้ร่วมกันสร้างพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า “ConQuest” ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนา ณ สภาการวิจัยทางการศึกษาออสเตรเลีย โปรแกรมสามารถประมวลผลการวัดเพื่อนำมากำหนดคะแนนจุดตัดและฉายภาพความสามารถอย่างเป็นรูปธรรมทำให้ผลการวัดมีความหมายเป็นประโยชน์และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามท่ามกลางการพัฒนาวิทยาการคำนวณและข้อมูลสารสนเทศจึงมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ใช้ประมวลผลแนวคิดแผนที่สภาวะสันนิษฐาน นอกจากซอฟต์แวร์ ConQuest ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี ค.ศ. 2020 ยังมีนักวิชาการอื่น ๆ ได้พัฒนาชุดคำสั่ง “WrightMap” สำหรับโปรแกรม R ในปี ค.ศ. 2022 นอกจากนี้สภาการวิจัยทางการศึกษาออสเตรเลียได้พัฒนาชุดคำสั่ง “Conquestr” สำหรับโปรแกรม R ในปี ค.ศ. 2023 จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันโดยมีแนวโน้มพัฒนาโปรแกรมเป็นประเภทที่ต้องป้อนคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์และโค้ดคอมพิวเตอร์ โปรแกรม R เป็นโปรแกรมประเภทป้อนคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ดังนั้นบทความวิชาการนี้จึงมีความมุ่งหมายที่จะอธิบายถึงมโนทัศน์สำคัญของแผนที่สภาวะสันนิษฐานประกอบไปด้วย ความเป็นมา แนวคิดหลักการ ความสำคัญ และลักษณะของแนวคิดแผนที่สภาวะสันนิษฐานประกอบกับการใช้ชุดคำสั่ง “WrightMap” ในการประมวลผล อีกทั้งยังนำเสนอวิธีการใช้โปรแกรมกำหนดคะแนนจุดตัด การฉายภาพแผนที่สภาวะสันนิษฐานแบบเอกมิติและพหุมิติ ตลอดจนตัวอย่างการเขียนรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลนอกจากนี้ยังมีตัวอย่างชุดคำสั่งและข้อมูลให้ฝึกทดลองประมวลผล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ถิรายุ อินทร์แปลง. (2565). การพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครู : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ. [วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bond, T. G., & Fox, C. M. (2013). Applying the Rasch model: ดundamental measurement in the human sciences. Psychology Press.

Boone, W. J., Staver, J. R., & Yale, M. S. (2013). Rasch analysis in the human sciences. Springer Science & Business Media.

Buckendahl, C. W., Smith, R. W., Impara, J. C., & Plake, B. S. (2002). A comparison of Angoff and Bookmark standard setting methods. Journal of Educational measurement, 39(3), 253-263.

Fisher, W. P., & Wilson, M. (2015). Building a productive trading zone in educational assessment research and practice. Pensamiento Educativo: Revista de Investigacion Educacional Latinoamericana, 52(2), 55-78.

Jabrayilov, R., Emons, W. H., & Sijtsma, K. (2016). Comparison of classical test theory and item response theory in individual change assessment. Applied psychological measurement, 40(8), 559-572.

Kennedy, C. A., Wilson, M. R., Draney, K., Tutunciyan, S., & Vorp, R. (2008). ConstructMap v4. 4.0 Quick Start Guide. BEAR Center, Berkley.

Mari, L., & Wilson, M. (2014). An introduction to the Rasch measurement approach for metrologists. Measurement, 51, 315-327.

Park, J., Ahn, D. S., Yim, M. K., & Lee, J. (2018). Comparison of standard-setting methods for the Korean radiological technologist licensing examination: Angoff, Ebel, bookmark, and Hofstee. Journal of educational evaluation for health professions, 15.

Wilson, M. (2023). Constructing measures: An item response modeling approach. Taylor & Francis.

Wright, B. D., & Masters, G. N. (1982). Rating scale analysis. MESA press.

Yoon Yoon, S., Evans, M. G., & Strobel, J. (2014). Validation of the teaching engineering self‐efficacy scale for K‐12 teachers: A structural equation modeling approach. Journal of Engineering Education, 103(3), 463-485.