การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

จารุรัตน์ แก้วรอด
วารุณี ลัภนโชคดี
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 4 ประการคือ 1) เพื่อสร้างแบบวัดสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และ 4) เพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัดสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัด ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 487 คน โดยแบบวัดที่สร้างขึ้นประกอบด้วย ข้อคำถาม 45 ข้อ มีลักษณะเป็นข้อคำถามเชิงสถานการณ์ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เพื่อวัดสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 3 การดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลและการนำผลการประเมินไปใช้ และองค์ประกอบที่ 5 จริยธรรมในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ 1) ความตรงเชิงเนื้อหา พบว่าข้อคำถามในแบบวัดมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (IOC) ตั้งแต่ 0.60 - 1.00 2) ความยากของข้อคำถามมีค่าตั้งแต่ 0.30 - 0.62 3) อำนาจจำแนกของข้อคำถามมีค่าตั้งแต่ 0.38 - 0.91 4) ประสิทธิภาพตัวลวงมีค่าความยากตั้งแต่ 0.06 - 0.46 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ - 0.05 ถึง - 0.59 5) ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดมีค่าไคสแควร์ (Chi-Square: χ2) ที่ df เท่ากับ 58 มีค่าเท่ากับ 72.81 (P=0.091) ค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized RMR) มีค่าเท่ากับ 0.034 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.027 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.97 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับค่าแล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.95 6) ความเที่ยงของแบบวัด โดยแบบวัดมีค่าความเที่ยงขององค์ประกอบที่ 1 - 5 เท่ากับ 0.748 0.791 0.565 0.546 และ 0.780 ตามลำดับ และความเที่ยงทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.895 6) เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดในรูปของคะแนนมาตรฐานทีปกติ มีดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 มีค่าตั้งแต่ T37 - T68 องค์ประกอบที่ 2 มีค่าตั้งแต่ T33 - T67 องค์ประกอบที่ 3 มีค่าตั้งแต่ T26 - T67 องค์ประกอบที่ 4 มีค่าตั้งแต่ T31 - T66 และองค์ประกอบที่ 5 มีค่าตั้งแต่ T41 - T66 ส่วนคะแนนของแบบวัดทั้งฉบับมีเกณฑ์ปกติตั้งแต่ T26 - T71 และ 7) คู่มือการใช้แบบวัดสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีส่วนประกอบสำคัญครบถ้วน อ่านเข้าใจง่าย และสะดวกในการนำไปใช้งาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คุรุสภา. (2562). รายละเอียดของผังการสร้างข้อสอบ (Test blueprint). https://www.ksp.or.th

โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย : แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ฐิติพัฒน์ พิชญธาดาพงศ์. (2549). ยุทธวิธีการใช้ระบบสมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ... เพื่อผลักดันองค์กรสู่ความเป็นเลิศเหนือคู่แข่ง. วารสารดำรงราชานุภาพ, 6(20), 16-63.

ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2554). การพัฒนาสมรรถนะ ตัวชี้วัด และเครื่องมือวัดดานการวัดและประเมินผลการศึกษาของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ธนานันต์ ดียิ่ง. (2556). โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน. [วิทยานิพน์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศิลปากร] https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal

/article/download/33242/32942/91151

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2550). Competency ภาคปฏิบัติ—เขาทำกันอย่างไร. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

พรทิพย์ ไชยโส. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชา 0153521 หลักการวัดและประเมินผลการศึกษาขั้นสูง [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). ประกาศสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรื่อง การให้บริการทดสอบวัดสมรรถนะครูทางด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ.2564. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). https://www.niets.or.th

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). โครงการพัฒนาสมรรถนะของครูตามระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2562). หนังสือราชการ เรื่อง การประเมินผลการฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. https://otepc.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิเคราะห์สมรรถนะและการปฏิบัติงานด้านการวัดและประเมินของครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุภมาส อังศุโชติ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อพันตรี พูลพุทธา. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(36), 69-82.

National Education Association. (1990). Standards for Teacher Competence in Educational Assessment of Students. https://buros.org/standards-teacher- competence-educational-assessment-students

Nitin Vazirani. (2010). Competencies and Competency Model-A Brief overview of its Development and Application. SIES Journal of Management, 7(1), 121-131.