ผลของแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการตั้งใจเรียนในห้องเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการตั้งใจเรียนในห้องเรียนของนักศึกษาหลังจากเรียนผ่านระบบออนไลน์ ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาในสาขาวิชาดิจิทัลอาร์ต ชั้นปีที่ 3 ระดับปริญญาตรี จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบวัดพฤติกรรมการตั้งใจเรียน และแบบวัดแรงจูงใจ ผ่านการทดสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.82 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาที่สำคัญ พบว่า แรงจูงใจด้านความต้องการความสำเร็จและด้านความต้องการความผูกพันสามารถทำนายพฤติกรรมการตั้งใจเรียนในห้องเรียนได้ ร้อยละ 66 (R2 = 0.66) โดยแรงจูงใจด้านความต้องการความสำเร็จมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งใจเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (β = .80, p < .05) ขณะที่แรงจูงใจด้านความต้องการความผูกพันมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งใจเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .01, p = .81)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ
References
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564. (20 กันยายน 2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 223 ง หน้า 1.
ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์ . (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 418-432.
ปวีณา ลิมปิทีปราการ, นิยม จันทร์นวล, ฐิติมา แสนเรือง และกาญจนา แปงจิตต์. (2565). ทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา, 5(14), 176-187.
ปิยะวรรณ ปานโต.(2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). รายการร้อยเรื่อง…เมืองไทย. สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร. ออกอากาศ มิถุนายน 2563.
พิมพ์ปวีณ สุนทรธรรมรัต. (23 กุมภาพันธ์ 2564). เรียนสาขา Digital Art จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง. Faamai Digital Arts Hub. https://www.faa.chula.ac.th/SelfLearningFaamai/detailform/109.
พิษณุ ลิมพะสูตร. (2555). พฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Thesis.swu.ac.th. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Dev_Psy/Pissanu_L.pdf.
รุ่งโรจน์ สงสระบุญ สกุลการ ชัยจริยาเวทย์ ปทิตตา โอภาสพงษ์ บุศรา นิยมเวช และจิตระวี ทองเถา. (2565). ปัจจัยความสำเร็จจากการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(4), 619-634.
ศรีประภา ชัยสินธพ. (7 พฤศจิกายน 2554). สภาพจิตใจของวัยผู้ใหญ่. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06272014-1009.
สุทธิพงษ์ บุญประดับวงศ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับสมรรถนะของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Faculty of Education Naresuan University. http://www.edu.nu.ac.th/researches/view_is.php?id=661.
McClelland, D. C. (1989). Motivational factors in health and disease. American Psychologist. 44,675-683.