แบบวัดเชิงสถานการณ์ : ประยุกต์ใช้วัดคุณลักษณะนิสัย

Main Article Content

สมถวิล วิจิตรวรรณา

บทคัดย่อ

คุณลักษณะนิสัยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรมมีความสำคัญต่อการศึกษา การวัดคุณลักษณะนิสัยของนักเรียนมีหลายวิธีการ โดยที่วิธีการวัดที่ดีที่สุด ตรงที่สุด คือ การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนหลาย ๆ ครั้ง ในหลาย ๆ สถานการณ์ แต่วิธีวัดผู้เรียนจำนวนมาก (Large scale measurement) ระดับจังหวัด ระดับประเทศที่มีข้อจำกัดด้านเวลาการเก็บข้อมูล จึงเป็นการวัดในเชิงแนวโน้มของพฤติกรรมทางคุณลักษณะนิสัย แบบวัดเชิงสถานการณ์ด้านคุณลักษณะนิสัย เป็นแบบสอบวัดที่นำเรื่องราวปัญหาเชิงคุณธรรม จริยธรรม มากระตุ้นให้ผู้ตอบแสดงความรู้สึกออกมาอย่างเด่นชัด โดยการเขียนตอบ หรือเลือกคำตอบจากตัวเลือกที่กำหนดให้ การทดสอบโดยใช้สถานการณ์จำเป็นต้องมีคำอธิบายที่เน้นย้ำว่า ไม่มีคำตอบถูก คำตอบผิดให้ตอบตามความรู้สึกที่แท้จริงของตน สถานการณ์ที่ใช้เป็นโจทย์ปัญหาเชิงคุณธรรมจริยธรรม เป็นสถานการณ์ที่บุคคลในสถานการณ์ปฏิบัติคล้อยตามหรือขัดแย้งกัน สำหรับการเขียนตัวเลือกแบ่งได้เป็น 3 แนวทางคือ แนวทางที่ 1 การวัดคุณลักษณะนิสัยแบบ 2 ทิศทาง คือ มี หรือ-ไม่มี คุณลักษณะนิสัย/จริยธรรม เหมาะกับการวัดกับเด็กเล็ก เพื่อวัดว่านักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมหรือไม่ ระบบการให้คะแนนแบบ 0-1 แนวทางที่ 2 สร้างตามกรอบแนวคิดพัฒนาการทางจิตพิสัยของแครธโวล และคณะ (Krathwohl et al.) และแนวทางที่ 3 เป็นระดับการวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของแนวคิดของโคลเบอร์ก (Kohlberg) ระบบการให้คะแนนตัวเลือกตามแนวทางที่ 2 และ 3 ไม่มีคำตอบถูกหรือผิด แต่เป็นแบบหลายค่าที่กำหนดให้แต่ละตัวเลือกเช่น 4, 3, 2, 1 แทนค่าพัฒนาการของคุณลักษณะนิสัย/จริยธรรม

Article Details

How to Cite
วิจิตรวรรณา ส. (2022). แบบวัดเชิงสถานการณ์ : ประยุกต์ใช้วัดคุณลักษณะนิสัย. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(1), 11–19. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2022.2
บท
บทความวิชาการ

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2528). การประเมินจริยธรรมโดยใช้เครื่องมือที่ครูสร้าง. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาจริยธรรม (หน่วยที่ 14). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมถวิล วิจิตรวรรณา. (2562). การวัดเจตพิสัย. ใน ประมวลการสอนชุดวิชาการวิจัยการวัดประเมินผลการศึกษา (หน่วยที่ 4). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). การวัดและประเมินผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Krathwohl, D. R., Bloom, B. S., & Masia, B. B. (1964). Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals. handbook II: affective domain. New York: McKay.