ผลกระทบของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ต่อประชาชนพหุเจเนเรชัน ในประเทศไทย

Main Article Content

สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ที่มีต่อร่างกาย จิตใจ และการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในประเทศไทย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ที่มีต่อร่างกาย จิตใจ และการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนระหว่างเจเนเรชัน X Y และ Z ในประเทศไทย ตัวอย่างวิจัยเป็นประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15-55 ปี ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ และยินดีที่จะให้ข้อมูล จำนวน 960 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามชนิดมาตรประเมินค่า 5 ระดับ ผ่านระบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วย One-Way ANOVA ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า (1) ผลกระทบของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ ในกลุ่มรวมคือ (M=3.23, SD=1.25) ส่วนเจเนเรชันZ (M=3.71, SD=1.30) เจเนเรชัน Y (M=3.17, SD=1.22) และเจเนเรชันX (M=2.54, SD=0.82) ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบ ผลกระทบของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ ต่อประชาชนระหว่าง เจเนเรชัน X, Y และ Z ในประเทศไทย พบว่า (2.1) ประชาชนเจเนเรชัน Z ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ สูงกว่าเจเนเรชันX และ Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2.2) ประชาชนเจเนเรชัน Y ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ สูงกว่าเจเนเรชัน X อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการวิจัย พบว่า ประชาชนเจเนเรชัน Z ซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์สูงที่สุด ดังนั้น สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนเจเนเรชัน Z ดังกล่าว เป็นลำดับแรกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉันทนา ปาปัตถา และนภาพร ภู่เพ็ชร. (2562). การสังเคราะห์สาเหตุ ผลกระทบ การป้องกันและการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในกลุ่มวัยรุ่นไทย. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11 ประจำปี 2562.
ธันยากร ตุดเกื้อ เกษตรชัย และหีม และฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2562). แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 11(1), 91-106.
ธันยากร ตุดเกื้อ. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนามนุษย์และสังคม). สงขลา : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ .
ศิวพร ปกป้อง และวิมลทิพย์ มุสิกพันธ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการกระทำความรุนแรงทั้งทางกายภาพ และการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ: ETDA). (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. Retrieved from: https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx
สุภาวดี เจริญวานิช. (2560). การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ : ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4), 639-648.
อมรทิพย์ อมราภิบาล. (2559). เหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในกลุ่มเยาวชน: ปัจจัยเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการปรึกษาบุคคลที่สาม.วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(1), 59-73.
Englander, E., Donnerstein, E., Kowalski, R., Lin, C. A., & Parti, K. (2017). Defining cyberbullying. Pediatrics, 140(Supplement 2), S148-S151.
Modality Partnership. (2018). “NHS Choices - Coping With Cyberbullying,” n.d., Retrieved from: https://summerhillsurgery.com/2018/01/07/coping-with-cyberbullying/
Olweus, D., & Limber, S. P. (2018). Some problems with cyberbullying research. Current opinion in psychology, 19, 139-143.