ผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์และสังคม

Main Article Content

วิชญพงศ์ ไชยธิกุลโรจน์
ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล
ทิวัตถ์ มณีโชติ

บทคัดย่อ

ความฉลาดทางอารมณ์และสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมี เพราะว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาอย่างรวดเร็ว (digital disruptive world) ซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนมากขึ้น ความฉลาดทางอารมณ์และสังคมจึงถือเป็นทักษะแห่งความสำเร็จของผู้นำในยุคนี้ที่หุ่นยนต์ไม่สามารถทำทดแทนคนได้ ผู้นำที่ดีจะต้องมีความฉลาดทางอารมณ์และสังคม การบริหารจัดการองค์การที่ขาดความเข้าใจทางสังคม เกิดจากบุคคลขาดความตระหนักรู้และเข้าใจทางอารมณ์ ความเข้าใจในตนเอง และขาดความสามารถในการจัดการปัญหาทางด้านอารมณ์ ส่งผลให้เกิดปัญหากับตัวบุคคล และเกิดปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้นำที่ต้องมีภาวะผู้นำและทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ยิ่งอยู่ในตำแหน่งสูงเท่าใดความฉลาดทางอารมณ์และสังคมจะทำให้บุคคลสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นเท่านั้น ความฉลาดทางอารมณ์และสังคมจึงเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ สามารถสังเกตได้ และสามารถรับรู้ได้โดยบุคคลเองและบุคคลรอบข้าง ดังนั้น การวัดความฉลาดทางอารมณ์และสังคมของผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์และสังคมที่มีความทันสมัย มีความเป็นปรนัยและไม่ซ้ำซ้อน เพื่อสะท้อนว่าผู้บริหารสถานศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์ คือ เป็นผู้ที่รู้และเข้าใจในตนเอง สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้และมีความฉลาดทางสังคม คือ เป็นผู้ตระหนักรู้ต่อสังคมและสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่นได้ ตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์และสังคมจึงเป็นสิ่งยืนยันความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ไชยธิกุลโรจน์ ว., มหาสินไพศาล ท., & มณีโชติ ท. (2021). ผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์และสังคม. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 2(1), 17–26. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/253453
บท
บทความวิชาการ

References

กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี : สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิตกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
กวิศร์ โพธิพิทักษ์. (2560). รูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
กัลยมน อินทุสุต. (2554). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กุหลาบ ปุริสาร. (2561). แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สู่ผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21.
วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 8(1), 1-9.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง.
หน้า 65-71.
ธนวรรธ ศรีวะรมย์. (2560). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : อินทภาษ.
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง กําหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 4). (2558, 13 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 36 ง. หน้า 15-18.
มนูญ สรรค์คุณากร. (2562, 29 ตุลาคม). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุค Digital disruptive world. ใน นายสมคิด จันทมฤก (ประธาน), การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) [เอกสารประกอบการประชุม]. ห้องประชุมราชสีห์ ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย.
มะลิ ประดิษฐแสง. (2559). ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของอาจารย์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
(รายงานการวิจัย). สงขลา: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
วันชัย ปานจันทร์. (2560). ภาวะผู้นำในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิริยะ ผดาศรี. (2560). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา). กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Albrecht, K. (2006). Social intelligence: The new science of success. San Francisco: Jossey - Bass.
Bar-On, R. (2006). The Bar-On model of emotional-social intelligence (ESI). Psicothema, 18, 13-25.
Birknerová, Z. (2011). Social and Emotional intelligence in School Environment. Asian Social Science, 7(10), 241-248.
Bradberry, T. (2016, January 19). Why attitude is more important than IQ. https://www.forbes.com/sites/
travisbradberry/2016/01/19/why-attitude-is-more-important-than-iq/ ?sh=2412c9d63bd0
Brown, L. M. (2006). Social Intelligence the New Science of Success. Business Book Review, 23(1), 1-11.
Cherniss, C. & Goleman, D. (2001). The emotionally intelligent workplace: how to select for, measure, and improve Emotional intelligence in individuals, groups, and organizations. San Francisco: Jossey-Bass.
Goleman, D. (1995). Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ. New York: Bantam Books.
Hay Group. (2011). The emotional and social competency inventory (ESCI) user guide. Hay Group.
Korn Ferry. (2017). Emotional and social competency inventory (ESCI) research guide and technical manual. Korn Ferry.
Landry, L. (2019). Why Emotional intelligence is important in leadership. https://online. hbs.edu/blog/post/
emotional-intel ligence-in-leadership
Morrison, N. (2013, December 30). The eight characteristics of effective school leaders. https://www.forbes.com
/sites/nickmorrison/2013/12/30/the-eight-characteristics-of-effective-school-leaders/#21a4bf069762
Patterson, S. E. (2008). Primal leadership: realizing the power of Emotional intelligence [review] / Goleman, D., Boyatzis, R., and McKee, A.. Journal of applied Christian leadership, 2(2), 76-80.
The Consortium for Research on Emotional Intelligence in Organizations. (2012). The emotional competence framework. http://www.eiconsortium.org/pdf/emotional_competence_ framework.pdf