การวิจัยประเมินผลโครงการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุปีงบประมาณ 2564 โดยใช้แนวคิดการประเมินของสตัฟเฟิลบีม

Main Article Content

ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง
จิริยา อินทนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2564 โดยใช้แนวคิดการประเมินแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 65 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบความรู้ และแบบสอบถาม ตรวจสอบความเที่ยงด้วยการใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.86วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท ได้แก่ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ของโครงการมีความสอดคล้อง และแผนการดำเนินงาน (ตามหลักสูตรฯ) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ วิทยากรสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความรู้ความสามารถตรงกับโครงการอบรมและมีจำนวนเพียงพอ ระยะเวลาอบรม สถานที่ที่ใช้ในการอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความเหมาะสม รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์มีความเพียงพอ ด้านกระบวนการ ได้แก่ การดำเนินงานเป็นไปตามแผนโครงการขั้นวางแผน ส่วนขั้นดำเนินการพบปัญหาเรื่องการเลื่อนระยะเวลาในการจัดอบรมเนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรค Covid 19 จึงส่งผลให้ต้องเลื่อนการจัดอบรมระยะที่ 2 ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ 1) ผลการดำเนินการฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 65 คน มีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 ขึ้นไป ร้อยละ 100 2) คุณภาพผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการอบรมอยู่ในระดับดีมาก (M=4.23, SD = 0.59) และสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมและทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุโดยภาพรวมหลังการอบรม อยู่ในระดับดีมาก (M=4.38, SD = 0.39) 3) ความคิดเห็นของผู้รับการอบรม พบว่า ความคิดเห็นต่อการจัดโครงการอบรมของผู้เข้ารับการอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (M=4.43, SD = 0.58) และ 4) การตัดสินใจในการจัดการโครงการอบรมหลักสูตรต่อไป พบว่า ทีมผู้รับผิดชอบโครงการและวิทยากรลงมติเห็นชอบให้นำข้อเสนอแนะของผู้เข้าอบรมครั้งนี้มาปรับปรุงกิจกรรมในการอบรมหลักสูตรครั้งต่อไป

Article Details

How to Cite
ธนะบุญปวง ป., & อินทนา จ. (2021). การวิจัยประเมินผลโครงการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุปีงบประมาณ 2564 โดยใช้แนวคิดการประเมินของสตัฟเฟิลบีม. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 2(1), 36–46. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/253445
บท
บทความวิจัย

References

Department of Older Persons. (2020). Statistics of the elderly of Thailand in 77 provinces. Available from: http:// www.dop.go.th/download/knowledge/th1610815306-335_0.pdf. Retrieved March 20, 2021.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.
Pibanwong, P., Teeyapan, W., Nadoon, W., Apichutboonchock, S., Phuarsa, B., Chopsiang, L., Harasan, P., Jantasen, O., & Palachai, T. (2019). The Evaluation of Training Program of Nursing Specialty in Family Nursing Practitioner: A study in Boromarajonani College of Nursing Sanpasithiprasong. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine, 63(3), 175-184.
Stake, R.E. (1967). The Countenance of Educational Evaluation. Teacher College Record, Chicago: University of Chicago Press.
Stufflebeam & Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. John Wiley and Son.
Thailand Nursing and Midwifery Council. Thailand Nursing and Midwifery, Announcement: Criteria for the Preparation of Specialized Nursing Training Programs. Available from: https://www. tnmc.or.th/news/. Retrieved March 20, 2021.
Tyler, R.W. (1943). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago Press.