ความสัมพันธ์ระหว่างค่าประมาณความสามารถของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์กับคะแนนรวมของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการทดสอบรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าประมาณความสามารถของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้ค่าสารสนเทศสูงสุด กับคะแนนรวมของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการทดสอบรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนระดับปริญญาตรี ซึ่งการทดสอบดังกล่าวทดสอบผ่านระบบทดสอบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นในรูปแบบ Web Application โดยผู้สอบสามารถเลือกการทดสอบได้ 2 ประเภท คือ การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ และการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ การดำเนินการวิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มที่ 1 ดำเนินการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์(CT) ก่อน แล้วจึงทำการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์(CAT-MIC) ในขณะที่ กลุ่มที่ 2 ดำเนินการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วจึงทำการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลำดับของการทดสอบ ซึ่งอาจส่งผลต่อผลการทดสอบได้ จากนั้นจึงนำผลการทดสอบทั้ง 2 ประเภทมาทดสอบความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่าค่าประมาณความสามารถของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์กับคะแนนรวมของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกขนาดสูงเท่ากับ .837 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 แสดงว่า ผลการทดสอบแบบ CAT-MIC มีความสอดคล้องกับผลการทดสอบแบบ CT นั่นคือ ผู้สอบที่ได้รับค่าประมาณความสามารถจากการทดสอบแบบ CAT สูง(หรือต่ำ) จะได้คะแนนรวมจากการทดสอบแบบ CT สูง(หรือต่ำ) ด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ
References
Han, K. T. (2012). An efficiency balanced information criterion for item selection in computerized adaptive testing. Journal of Educational Measurement, 49(3), 225-246.
Hau, K. T., & Chang, H. H. (2001). Item Selection in Computerized Adaptive Testing: Should More Discriminating Item be Used First. Journal of Educational Measurement, 38(3), 249-266.
Liley, M., Barker, T., & Britton, C. (2004). The development and evaluation of a software prototype for computerized-adaptive testing. Computers & Education, 43(43), 109-123.
Phankokkruad, M., & Woraratpanya, K. (2012). Item classification algorithm for computer adaptive testing based on web services. International Journal of Engineering Research and Applications, 2(1), 835-847.
Reckase, M. (2009). Multidimensional item response theory (Vol. 150). New York: Springer.
Thompson, N. A., & Weiss, D. J. (2011). A framework for the development of computerized adaptive tests. Practical Assessment, Research & Evaluation, 16(1), 1-9.
Van der Linden, W. J., & Glas, G. A. W. (2010). Computerized adaptive testing: theory and practice. New York: Kluwer Academic.