แรงจูงใจในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร

Main Article Content

พัลลภ จิระโร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) ศึกษาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนและ 3) ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนและ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) แรงจูงใจในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียน ได้ร้อยละ 39.5 อย่างมีนัยสำคัญทางที่ระดับ .05 4) แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร มี 2 ด้าน คือ ปัจจัยจูงใจ ผู้บริหารควรมอบหมายงานให้ครูอย่างชัดเจนตรงกับความรู้ ให้กำลังใจ ยกย่องชมเชยเมื่อครูปฏิบัติงานจนสำเร็จ และปัจจัยค้ำจุน สนับสนุนให้ครูมีผลงานดีเด่นต่าง ๆ เพื่อเพิ่มวิทยฐานะที่สูงขึ้น เพื่อเป็นองค์ประกอบการพิจารณาในส่วนของการเลื่อนเงินเดือน

Article Details

How to Cite
จิระโร พ. (2020). แรงจูงใจในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 1(2), 33–44. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/249205
บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ยอดมาลี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับ ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ชนิตา เศษลือ. (2556). แรงจูงใจในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครู โรงเรียนในเครือสารสาสน์. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (กรกฎาคม–ธันวาคม), 24 – 32.
ฐิติกาญจน์ คงชัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ประเสริฐ ฉัตรชัยศักดิ์. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักราชเลขาธิการ : ศึกษากรณีแรงจูงใจ. หลักสูตรนักบริหารการทูต สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
ไพรินทร์ ขุนศรี. (2559). แรงจูงใจของครูกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มารยาท โยทองยศ และปราณี สวัสดิสรรพ์. (2551). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม.
รำพึง ศุภราศี. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษา ขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2558. กรุงเทพ ฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 1-10. เข้าถึงได้จาก http://www.nesdb.go.th. [4 พฤษภาคม 2562].
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา
พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561-2565 องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร. ฝ่ายนโยบายและแผน กองแผนและงบประมาณ
Barnard B. & Grey A. Steiner. (1964). Human behavior. New York: Harcourt Brace & World.
Randall, C. M. (1987). Job satisfaction of chief administrative officers of teacher education programs. Dissertation Abstracts International, 48(1), 21-A.
Walton, R. E. (1973). Quality of working life: what is it?. Sloan Management Review, 4(7), 20-23.