การสร้างแบบประเมินความเครียดในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างแบบประเมินความเครียดในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร 2.เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบปะเมินความเครียดในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร มีอยู่ 5 ขั้นตอนในการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร ขั้นตอนแรกใช้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน เพื่อสัมภาษณ์และตอบคำถามในเรื่องของปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด ขั้นตอนที่ 2. ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน เพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยการตอบคำถาม 59 ข้อ ขั้นตอนที่ 3. ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 393 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบประเมินความเครียด ขั้นตอนที่ 4. ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือโดยการตอบคำถาม 16 ข้อ ขั้นตอนที่ 5. ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน เพื่อสร้างเกณฑ์มาตราของแบบประเมินความเครียด โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน จากการศึกษาพบว่าแบบเมินความเครียดในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร มีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด 5 ด้าน คือ กิจกรรม การเงิน สุขภาพ การปรับตัว การเรียนและการสอบ มีค่าองค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยค่า GFI เท่ากับ .92 ค่า CFI เท่ากับ .94 และค่า RMSEA เท่ากับ .070 ซึ่งผ่านเกณฑ์การพิจารณาทุกรายการ และเครื่องมือที่สร้างมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .823 ซึ่งอยู่ในระดับที่ดี สรุปได้ว่า แบบประเมินความเครียดในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร มีคุณภาพเครื่องมืออยู่ในเกณฑ์ที่ดี และสามารถนำมาใช้ได้ในบริบทของมหาวิทยาลัยนเรศวร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ
References
กรมสุขภาพจิต.(2540).คู่มือคลายเคลียดด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กระทรวงสาธารณสุข.
กรมสุขภาพจิต.(2547).คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: บริษัทวงศ์กมลโปรดักชั่น
จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และ วิทยา เหมพันธ์ (2556). ความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัย.วารสารศลิปศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-มิถุนายน 2556
ธงชัย ทวิชาชาติ และคณะ. (2541). ความเครียดและสุขภาพจิตของคนไทย : รายงานการวิจัย. กองแผนงาน. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,นนทบุรี
ปิยะนารถ จันทราโชติวิทย์ และคณะ. (2539). ความเครียดของนักศึกษา ทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้น 10 มีนาคม 2562, จาก www.dent.cmu. ac.th/thai/library/RBD/35_piyanard.html.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และคณะ. (2546). ความแตกต่างของเพศ ชั้นปี และสาขาวิชาที่มีต่อระดับความเครียดและการจัดการความเครียดของ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีเรือน แก้วกังวาน.(2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2 วัยรุ่น วัยสูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์