การสร้างสรรค์ลิเกชุมชน เรื่อง “ศาลายาใจ” โดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์ตามแนวทาง สาธารณศิลป์ในการขับเคลื่อนงานศิลปกรรมเพื่อสาธารณะในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19

Main Article Content

ภาวิณี บุญเสริม

บทคัดย่อ


ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์การแสดงลิเกเพื่อชุมชน เรื่อง ศาลายาใจ ตามแนวทางสาธารณศิลป์ในการขับเคลื่อนงานศิลปกรรมเพื่อสาธารณะในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19  โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR)ผสมผสานกับการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้ผลงานการแสดงลิเกเพื่อชุมชน คณะผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดสาธารณศิลป์  แนวคิดการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ แนวคิดการปรับประยุกต์การแสดงพื้นบ้าน และเทคนิคการร่วมสร้างการแสดงบูรณาการร่วมกับประเด็นทางสังคมมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ลิเกเพื่อชุมชนนั้น สิ่งสำคัญคือการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของศิลปินในพื้นที่ที่ร่วมกันออกแบบและพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ลิเกผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างศิลปินและนักวิชาการ  อีกทั้งลิเกที่สร้างสรรค์ใหม่นี้ยังสามารถสร้างการรับรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมผ่านกระบวนการสื่อสารและการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์โดยผู้สร้างงานจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการสร้างสรรค์เป็นอย่างดี ทั้งประเด็นและรูปแบบในการแสดง  ผลจากการสร้างสรรค์ลิเกเพื่อชุมชนนี้ได้นำไปสู่ข้อเสนอแนวทางวิธีวิทยาการสร้างสรรค์และทางเลือกในการทำงานสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อสาธารณะได้อย่างเหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
Articles

References

กาญจนา แก้วเทพ เธียรชัย อิศรเดช อดุลย์ ดวงดีทวีรัตน์ ประยุทธ วรรณอุดุม และ อริยา เศวตามร์. (2548). สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนา ภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กาญจนา แก้วเทพ. (2560). เครื่องมือทำงานวัฒนธรรมชุมชนและสื่อพิธีกรรมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

นันธิดา จันทรางศุ และคณะ. (2566). ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสาธารณศิลป์: การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19. กรุงเทพฯ: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.).

มหาวิทยาลัยมหิดลจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์, (2565). ที่มาของพื้นที่ศาลายา. วันที่เข้าถึงข้อมูล 22 ธันวาคม 2565 แหล่งที่มา https://museum.li.mahidol.ac.th/mahidol-mysteries/index.php/salaya/

วาษิณี เชื้อวงศ์ คณะสายดาราธิดาเทพ. (สัมภาษณ์), 7 มกราคม 2566.

สุกัญญา สมไพบูลย์. (2562). "บุหลันชาลา" ลิเก นิทาน เรื่องเล่าวันวานของชุมชนคนในเมือง. โครงการวิจัยนิเวศวัฒนธรรมด้านการแสดง: สร้างสรรค์ วิจัย และนวัตกรรม (Cultural Ecologies of Performance: Creativity, Research and Innovation). กรุงเทพฯ: กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชุดโครงการนววิจัยทางศิลปวัฒนธรรม.

อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2564). โครงการวิจัยนิเวศวัฒนธรรมด้านการแสดง: สร้างสรรค์ วิจัย และนวัตกรรม (Cultural Ecologies of Performance: Creativity, Research and Innovation). กรุงเทพฯ:กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายใต้ชุดโครงการนววิจัยทางศิลปวัฒนธรรม.

Association for Public Art. (2022). “What is public art?” Retrieved July 11, 2022 from https://www.associationforpublicart.org/ what-is-public-art/.

Engeström, Y. (2001). Expansive learning at work: Toward an activity theoretical reconceptualization. Journal of Education and Work, 14(1), 133-156. https://doi.org/10.1080/13639080020028747.

Emma, G., Hellen, N and Katie, N. (2007). Making a performance: devising histories and contemporary Practice. London and New York: Routledge.