พฤติกรรมการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทยและการสื่อสารที่เหมาะสม สำหรับเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ

Main Article Content

วิไลรักษ์ สันติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทย และ 2) ศึกษาแนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมสำหรับเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 210 คน ผู้นำชุมชนและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 50 คนใน 5 พื้นที่ ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลหนองตองพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 2) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแซง จังหวัดขอนแก่น 3) ชุมชนภักดีราชา จังหวัดปทุมธานี 4) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา และ 5) ชุมชนเลิศสุขสม กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแนวคำถามปลายเปิด ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564  ผลการวิจัยด้านพฤติกรรมการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทยโดยรวมพบว่า เปิดรับสื่อโทรทัศน์  เสียงตามสายหรือหอกระจายข่าว สื่อบุคคล สื่อออนไลน์และสื่อวิทยุเป็นประจำ ในขณะที่สื่อหนังสือพิมพ์หรือสื่อสิ่งพิมพ์นาน ๆ ครั้งจะเปิดรับหรือไม่เปิดรับเลย ข้อมูลข่าวสารและเนื้อหาที่ผู้สูงอายุทั้งในเมืองและชนบทเปิดรับมากที่สุดคือรายการข่าวและรายการเล่าข่าว รองลงมาคือรายการที่ให้เน้นความบันเทิง รายการที่เกี่ยวกับศาสนาและธรรมะ รายการวาไรตี้และรายการเกี่ยวกับกีฬาตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทยโดยรวม ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับตัวผู้สูงอายุ ปัญหาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและสังคมและปัญหาการรู้ไม่เท่าทันสื่อ แนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมสำหรับเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ คือ 1) มีนักสื่อสารประจำชุมชน ที่มีทักษะการสื่อสาร รู้เท่าทันสื่อและสามารถผลิตสื่อที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รอบด้าน เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุตามความต้องการของผู้สูงอายุและภายใต้บริบทของชุมชน 2) มีระบบการสื่อสารในชุมชนที่ใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย (Omnichannel) ครอบคลุมทั้งสื่อบุคคล เสียงตามสายหรือหอกระจายข่าว สื่อกิจกรรมและสื่อออนไลน์ (ไลน์) โดยคำนึงถึงความต้องการ ทักษะและความสามารถของผู้สูงอายุ ตลอดจนบริบทของชุมชน 3) ชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนงบประมาณและการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดระบบการสื่อสารของชุมชนที่เหมาะสม โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนรวมถึงผู้สูงอายุ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 

Article Details

บท
Articles

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

กันตพล บันทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กาญจนา แก้วเทพ. (2550). ทบทวนหวนคิดและเพ่งพินิจไปข้างหน้า การสื่อสารเพื่อการพัฒนาในสังคมไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน, 1(1), 1-30.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2565). รูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย-ใจ ภายใต้แนวคิดชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

“โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย”. (2566). ใน สารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย. วันที่เข้าถึงข้อมูล 1 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย

ปรมะ สตะเวทิน. (2538). หลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

“ปี 65 ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ สสส.ผนึกภาคี ผลักดันนโยบายเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุทั่วประเทศ” (2566). วันที่เข้าถึงข้อมูล 1 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.thaihealth.or.th/ปี-65-ไทยเข้าสู่สังคมผู้ส/

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2555). สื่อบุคคลกับการสื่อสารภาพลักษณ์และการพัฒนาองค์กร. วันที่เข้าถึงข้อมูล 6 มีนาคม 2566, แหล่งที่มา http://www.drphot.com/talk/archives/578

พนม คลี่ฉายา. (2555). ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อและนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย. (รายงานวิจัย) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนม คลี่ฉายา (2563). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย. (รายงานวิจัย). มูลนิธิสถาบันพัฒนาผู้สูงอายุ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 1 เมษายน 2566 แหล่งที่มา https://thaitgri.org/?p=39594

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2556). คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดดูเคชั่น.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Thailand Internet User Behavior 2565. วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.etda.or.th/th/การสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย-Thailand-Internet-User-Behavior

สุคี ศิริวงศ์พากร. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

เสถียร เชยประทับ. (2536). สื่อมวลชนกับการพัฒนาประเทศ: เน้นเฉพาะประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนา จักกะพากและระวี สัจจโสภณ. (2554). โครงการวิจัยเรื่อง สื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย: สภาพการณ์ ปัจจุบัน ความคาดหวัง แนวโน้มในอนาคตและการกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรนารถ ดวงอุดม. (2555). การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดแพร่. วารสารจันทรเกษมสาร, 18(34), 13-22.

วรัชญา ทิพย์มาลัย. (2562). พฤติกรรมและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสิทธิของผู้สูงอายุผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิไลรักษ์ สันติกุล. (2560). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร. [รายงานเฉพาะบุคคล ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย.

วีรายา อักกะโชติกุล. (2552). บทบาทของสื่อบุคคลในการส่งเสริมการรับรู้องค์กรนวัตกรรม. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Berlo, D. K. (1960). The process of communication: An introduction to theory and practice. New York: Holt, Rinehart and Winston.

World Health Organization. (2007). Global age-friendly cities: A guide. Retrieved March 1, 2023, from https://www.who.int/ageing/ publications/ Global_age_friendly_cities_Guide_English.pdf