อัตลักษณ์ของกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

Main Article Content

นิสาชล รัตนสาชล

บทคัดย่อ

การวิจัยอัตลักษณ์ของกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงรูปแบบการดำเนินชีวิต อัตลักษณ์ และการสื่อสารเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยของกลุ่มคนที่เกิดในปี พ.ศ. 2507- 2523 อายุประมาณ 36-52 ปี (ปี 2560) จำนวน 250 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์บุคลิกภาพรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มโดยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ผ่านกิจกรรม ความสนใจและความคิดเห็น วิเคราะห์การแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One-Way ANOVA) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมในมิติด้านเศรษฐกิจ สุขภาพและสังคม จากการวิเคราะห์เชิงปัจจัย ทำให้ได้รูปแบบการดำเนินชีวิตของเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ได้ 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มเชี่ยวประสบการณ์ที่รักการท่องเที่ยวเข้าสังคมและความท้าทาย 2) กลุ่มครอบครัวเป็นหนึ่งเน้นครอบครัวมีความสมดุลกับชีวิตส่วนตัวและงาน 3) กลุ่มรักสุขภาพเน้นการดูแลสุขภาพ 4) กลุ่มศรัทธาธรรมชอบอยู่บ้านและศึกษาธรรมะ 5) กลุ่มมุ่งความสำเร็จเน้นความสำเร็จในหน้าที่การงานมีเป้าหมายในชีวิตชัดเจน  งานวิจัยพบว่ากลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ช่วงอายุ 37-41 ปี อายุ 42-46 ปี และอายุ 47-53 ปีมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยในมิติด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และสังคมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาจากรูปแบบการดำเนินชีวิตได้ข้อค้นพบที่น่าสนใจโดยพบว่ากลุ่มมุ่งความสำเร็จมีการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นผู้สูงวัยในมิติด้านเศรษฐกิจ กลุ่มศรัทธาธรรมเตรียมความพร้อมในมิติด้านสุขภาพ  และกลุ่มครอบครัวเป็นหนึ่ง เตรียมความพร้อมในมิติด้านสังคมมากที่สุด

Article Details

บท
Articles

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552-2555). การสื่อสารกับผู้สูงอายุ โครงการเมธีวิจัยอาวุโส “กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารไทยศึกษา”. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2548). Power gens branding. พิฆเนศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์: กรุงเทพมหานคร

กำจร หลุยยะพงศ์. (2553). การสื่อสารกับวาทกรรมอัตลักษณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชานนท์ ศิริธร. (2554). การเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชนี เชยจรรยา. (2558). แบบจำลองเชิงโครงสร้างการยอมรับและรูปแบบการใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงอายุ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

วรเวศม์ สุวรรณระดา. (2551). ระบบบำนาญแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธีระ สินเดชารักษ์ และพรทิพย์ เนติภารัตนกุล. (2554). ความพร้อมของแรงงานนอกระบบกับการเป็นสังคมสูงอายุในประเทศไทย., สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

Assael, H. (2004). Consumer behavior: A strategic approach. Boston, MA: Houghton Miffilin.

Schiffman, L.G. and Kanuk, L.L. (2010). Consumer Behavior. Prentice Hall, New York.

Shimp,T.A. (2007). Integrated marketing communications in advertising and promotion (7th ed.). China: Thomson South-Western.

Wells, W.D. and Tiger, D, J. (1971). Attitudes, Interests and Opinions. Journal of Advertising Research. 11, 27-35.