การสื่อสารประชาสัมพันธ์ภาครัฐในสยาม พ.ศ. 2453 - 2475

Main Article Content

นภวรรณ ตันติเวชกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภาครัฐระหว่างปี พ.ศ 2453 – 2475 ในสยามหรือประเทศไทย ซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยใช้การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร การวิจัยพบว่า การดำเนินการด้านการสื่อสารของรัฐบาลที่นำโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวข้องกับการสร้างความเป็นชาติ การต้านอิทธิพลต่างชาติ และการเผยแพร่ข่าวสารภาครัฐ โดยพระองค์ทรงเผยแพร่อุดมการณ์ชาตินิยมและอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านทางสื่อพระราชนิพนธ์ สื่อพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท ตลอดจนบทความในหนังสือพิมพ์  รวมไปถึงกิจกรรมและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกองเสือป่า ในแง่การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน การวิจัยพบว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำสื่อหลากหลาย ได้แก่ สิ่งพิมพ์ สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อนิตยสาร สื่อโฆษณา และการจัดกิจกรรมพิเศษ มาใช้ในงานเผยแพร่ข่าวสารภาครัฐเพื่อประโยชน์ในทางการพัฒนาประเทศและความมั่นคงของชาติในหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สโมสรราชนาวี กรมอากาศยาน กองเสือป่า กรมรถไฟหลวง และคลังออมสิน  โดยการดำเนินการด้านการใช้สื่อมวลชนซึ่งรวมถึงสื่อภาพยนตร์และสื่อวิทยุในงานการประชาสัมพันธ์ภาครัฐนี้มีความต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยกรมรถไฟหลวง การให้ความรู้และชักจูงใจให้ออมเงินของคลังออมสิน นอกจากนี้ กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวสังกัดกรมรถไฟหลวงยังได้ผลิตภาพยนตร์ข่าวและสารคดีเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและงานต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 นี้ถือเป็นจุดกำเนิดของการวิทยุกระจายเสียงภาครัฐ ภายใต้การดูแลของกรมไปรษณีย์โทรเลข

Article Details

บท
Articles

References

กรรภิรมย์ สุวรรณานนท์. (2524). พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างชาติไทย. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2562). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มติชน.

จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. (2544). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์.

จุลลางอนรถ, ม.ล. (2513). กำเนิดและความเป็นมาของลัทธิชาตินิยมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุสิตสมิต. เล่ม 1 ฉบับที่ 1 ธันวาคม-มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461.

ดุสิตสมิต. เล่ม 2 ฉบับที่ 12 มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2461-2462.

ดุสิตสมิต. เล่ม 2 มินาคม-เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2461-62.

ดุสิตสมิต. เล่ม 3 ฉบับที่ 26 มิถุนายน-กรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ.2462.

ดุสิตสมิต. เล่ม 8 ฉบับที่ 80 กรกฎาคม-สิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2463.

โดม สุขวงศ์. (2539). พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กับภาพยนตร์. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่, 2539.

เทพ บุญตานนท์. (2559). การเมืองในการทหารไทย สมัยรัชกาลที่ 6. กรุงเทพ: มติชน.

ธนัญญา ประภาสะโนบล. (2527). วิวัฒนาการของการโฆษณาในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2553). การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

นภวรรณ ตันติเวชกุล. (2557). การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 7(1), 12-37.

นภวรรณ ตันติเวชกุล. (2558). การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 8(1), 21-46.

นภวรรณ ตันติเวชกุล. (2562). การกำหนดสร้างภาพลักษณ์สยามประเทศในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 12(2), 63-88.

นันทนา กปิลกาญจน์. (2547). พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: พ.ศ. 2468-2477. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ปิยนาถ บุนนาค. (2553). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาเบาวริง ถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516). (พิมพ์ครั้งที่ 3.). กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2484). ปลุกใจเสือป่า: พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อำนวยศิลป์.

ยุภาพร เจือจินดา. (2528). เสือป่า : โครงสร้างขององค์กรและบทบาททางการเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ร้อยเรียงเรื่องเล่าขานธนาคารออมสิน. (เล่ม 1 และเล่ม 2) (e-book). วันที่เข้าถึงข้อมูล 9 กุมภาพันธ์ 2563 แหล่งที่มา https://www.gsb.or.th/

วรชาติ มีชูบท. (2552). พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์.

วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์, ยุรารัตน์ พันธ์ยุรา, พลังจิต โกศัลวัฒน์, และ ศรัณย์ มะกรูดอินทร์. (2553). การวางรากฐานการสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ (สมัยรัชกาลที่ 6-รัชกาลที่ 7 ก่อนยุคประชาธิปไตย. ใน ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. (2553). รายงานผลการวิจัยเรื่อง พระมหากษัตริย์กับการสื่อสารโทรคมนาคม. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. หน้า 287-384.

วิไลรักษ์ สันติกุล. (2546). วิวัฒนาการของการโฆษณาไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2453- พ.ศ. 2488). (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรรพสิริ วิรยศิริ. (2537). ผมเป็นคนข่าวคนหนึ่ง ก็แค่นั้น. กรุงเทพฯ : กรังด์ปรีซ์.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2548). การสร้างความเป็นไทย กระแสหลัก และ "ความจริง" ที่ "ความเป็นไทย" สร้าง. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊คส์.

สุกัญญา ตีระวนิช. (2532). พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการหนังสือพิมพ์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชูปถัมภ์.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. รฟท 1/3 เอกสารกรมรถไฟหลวง Guide Book of Siam (พ.ศ. 2463).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร. 7 รล. 18 /72 เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 ห้างร้านขอประกาศแจ้งความขายของในวิทยุกระจายเสียง, 8 กุมภาพันธ์ 2474 – 20 กุมภาพันธ์ 2474)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.7 พ. 4.2/2 เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 รายการส่งกระจายเสียง (29 เมษายน – 28 ธันวาคม 2474).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. รฟท 1/5 เอกสารกรมรถไฟหลวง ต้นฉบับ Guide to Phimai, The Beautiful Temple City โดย Major Erik Seidenfaden ปี พ.ศ. 2469

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. รฟท 1/6 เอกสารกรมรถไฟหลวง จดหมายโต้ตอบ (ภาษาอังกฤษ) (2471 – 2472).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. รฟท 1/7 เอกสารกรมรถไฟหลวง ชุด “Glimpse of the East (Advertising Railways, Hotels) Issue: 1931-32 (2473-2474) [พ.ศ. 2472-2476].

อัญชลี ภู่ผะกา. (2553). พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: วรรณคดีกับการสร้างชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต, 2543. วิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอนก นาวิกมูล. (2550). หนังสือโฆษณาไทย เล่ม 2 ยุค 2470. กรุงเทพฯ: สายธาร.

Curtin, P.A. (2008). Fred Harvey Company public relations and publicity (1876-1933). Journal of Communication Management. 12(4), 359-373.

Kunczik, M. (2009). Transnational Public Relations by Foreign Governments. In Sriramesh, K., and Verčič, D. (Eds.), The Global Public Relations Handbook Theory, Research, and Practice. New York and London: Routledge.

L’Etang, J. (2008). Public relations: concepts, practice and critique. London: Sage Publication.

Tantivejakul, N. (2014a). Thailand. In T. Watson (Ed.), Asian perspectives on the development of public relations. (pp.128-143). UK: Palgrave Macmillan,

Tantivejakul, N. (2014b). The utilization of public relations to avoid imperialism during the beginning of Thailand’s transition to modernization. (1851-68). In B. St. John III, M. O. Lamme & J. L'Etang (Eds.), Pathways to public relations histories of practice and profession. (pp. 160-174). New York: Routledge.

Tantivejakul, N. (2020). Nineteenth Century Public Relations: Siam’s Campaign to Defend National Sovereignty. Corporate Communications: An International Journal. In print.

Tantivejakul, N. and Manmin, P. (2011). The practice of public relations in building national unity: A historical view of the kingdom of Thailand In The proceedings of the international history of public relations conference 2011. UK: Bournemouth University.

Puchan, H. (2006). An Intellectual History of German Public Relations. In L’Etang, J., and Pieczka, M. Public Relations Critical Debates and Contemporary Practice. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Salcedo, N.R. (2008). Public relations before “public relations” in Spain: An early history (1881-1960), Journal of Communication Management, 12(4), 279-293.

Sturm, A. (2006). King's Nation: a study of the emergence and development of nation and nationalism in Thailand. Thesis (Ph.D.) University of London. London School of Economics and Political Science”

Yamamura, Ikari and Kenmochi. (2014). Japan In Asian Perspectives on The Development of Public Relations: Other Voices (pp.63-77). UK: Palgrave macmillan.