ทัศนคติของผู้รับสารและจุดดึงดูดของสื่อของพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง “ทัศนคติของผู้รับสารและจุดดึงดูดของสื่อของพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อประเภทของจุดดึงดูดของสื่อของพื้นที่สีเขียว เพื่อให้ได้แนวทางในการออกแบบสื่อตรงตามระดับความตระหนักในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของผู้รับสาร การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ เป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ผลจากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่คิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ไม่สำคัญ (ตระหนักน้อย) มีจำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 9.50 และคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่น่ากลัว (ตระหนักมาก) มีจำนวน 362 คน คิดเป็นร้อยละ 90.50 กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในเชิงบวกอย่างยิ่งต่อจุดดึงดูดทั้ง 2 ประเภท (จุดดึงดูดที่ให้ความรู้สึกเชิงลบและจุดดึงดูดที่ให้ความรู้สึกเชิงบวก) เมื่อวิเคราะห์โดยแยกตามลักษณะประชากรแล้ว พบว่า เพศและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อประเภทของจุดดึงดูดทั้งสองประเภทไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุที่ต่างกันมีทัศนคติต่อจุดดึงดูดทั้ง 2 ประเภทที่ต่างกัน นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์สมมติฐานเกี่ยวกับทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างต่อจุดดึงดูดทั้งสองประเภท สรุปได้ว่าไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม (กลุ่มผู้รับสารที่มีระดับความตระหนักมากและกลุ่มผู้รับสารที่มีระดับความน้อยในปัญหาสิ่งแวดล้อม)
Article Details
References
กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์. (2555). ISO 14063 การสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม. วันที่เข้าถึงข้อมูล 12 กุมภาพันธ์ 2561, แหล่งที่มา http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/qm171_p017-20.pdf
คนไทยยุคดิจิทัลขยับสู่โลกออนไลน์. (2561, 26 กรกฎาคม). โพสต์ทูเดย์.
นรีรัตน์ งามประดิษฐ์. (2553). ประสิทธิผลของการใช้ภาพและข้อความที่สร้างความกลัวในการรณรงค์เพื่อลดภาวะโลกร้อน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยวรรณ ศรีอ่อนจันทร์. (2560). การรับรู้ และทัศนคติของเจเนอเรชั่นวายต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของโครงการ “เที่ยวไทยเท่”. โครงการวิชาชีพ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2534). คู่มือการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: (ม.ป.พ.)
สื่อโซเชียลไทยบูม เฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ฮิต. (2561, 17 กรกฎาคม). โพสต์ทูเดย์.
เสน่ห์อีคอมเมิร์ซไทย แรงดึงดูดยักษ์ต่างชาติ. (2561, 26-29 กรกฎาคม). ประชาชาติธุรกิจ.
อิทธิพัทธ์ ปิ่นระโรจน์. (2561, 25 มกราคม). มลพิษกลางกรุงเทพฯ ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำไมใครก็ว่าร้าย!. วันที่เข้าถึงข้อมูล 2 กุมภาพันธ์ 2561, แหล่งที่มา http://www.nationtv.tv/main/content/378598679/
ภาษาอังกฤษ
Fournier, G. (2018). Resistance. Psych Central. Retrieved October 10, 2018, from https://psychcentral.com/
encyclopedia/resistance/
Mass communication theory: Spiral of silence. Retrieved October 10, 2018. from https://masscommtheory.
com/theory-overviews/spiral-of-silence/
Meisner, M. (2015). Environmental communication: What it is and why it matters. Retrieved from https://theieca.org/resources/environmental-communication-what-it-and-why-it-matters
Obermiller, C. (1995). The baby is sick/the baby is well: A test of environmental communication appeals. Journal of Advertising. 24(2), 55-70.
Ongkrutraksa, W. (2005). Environmental communication in the digital age: A study of emotional appeal effects. Retrieved from http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/jan_june2005/worawan.pdf
Ongkrutraksa, W. (2007). Effectiveness of emotional appeals in environmental advertising. Doctor of Arts Dissertation, Faculty of Arts, Tokai University.
Ongkrutraksa, W. (2017, August 4). Communications for sustainable urban green space: A review of the literature. GSCM NIDA 2nd International Conference on Innovative Communication and Sustainable Development in ASEAN (ISDA) August 4, 2017 Bangkok (Thailand).