พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลการโฆษณาและการตัดสินใจซื้อผ้าไทย บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก Consumers’ Information Seeking Behavior for Thai Fabric Advertisements on Facebook and Their Purchase Decisions

Main Article Content

Uayporn Panich

บทคัดย่อ

ารวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการโฆษณาขายผ้าไทยบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก 2) ศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลการโฆษณาผ้าไทย และการตัดสินใจซื้อผ้าไทยบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก 3) เพื่อเปรียบเทียบการแสวงหาข้อมูลของ ผู้ซื้อผ้าไทยจำแนกตามลักษณะประชากร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข้อมูลกับการตัดสินใจซื้อผ้าไทยบนเครือข่ายฯ ประชากรและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการสำรวจด้วยแบบสำรวจแบบมีโครงสร้างเพจร้านขายผ้าไทยจำนวน 57 ร้าน และสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างผู้ขายผ้าไทย 13 คน ส่วนในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเก็บข้อมูลแบบครั้งเดียวจำนวน 259 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) ผลการวิจัย พบว่า การโฆษณาขายสินค้าผ้าไทยบนเครือข่ายเฟซบุ๊กเป็นการใช้การตลาดออนไลน์ และการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ร้านค้าผ้าไทยมีทั้งร้านที่มีหน้าร้านและร้านค้าผ้าไทยออนไลน์ที่ไม่มีหน้าร้านจริง นิยมตั้งชื่อร้านโดยมีคำว่า ผ้า อยู่ในชื่อร้าน มีวิธีการจูงใจ มีการขยายความด้วยภาษา เล่นคำ ใช้โอกาสวันสำคัญในการจูงใจขาย มีภาพสินค้าประกอบให้น่าสนใจ ช่องทางการติดต่อมีมากกว่า 1 ช่องทาง วิธีการส่งสินค้า หากผ้าไทยมีราคาแพง หรือสั่งมากกว่า 1 ชิ้นมักจัดส่งฟรี หากสั่งซื้อน้อยหรือสินค้าราคาถูกมักจะบวกค่าส่ง ตั้งแต่ลงทะเบียน EMS Kerry และเก็บเงินปลายทางจะแพงขึ้นเป็นลำดับ กลุ่มตัวอย่างผู้สนใจซื้อสินค้าผ้าไทยบนเครือข่ายฯ เป็นเพศหญิงช่วงอายุ 25-34 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 25,001 บาทและประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจมากที่สุด กลุ่มตัวอย่าง วัตถุประสงค์ในการแสวงหาผ้าไทยอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.14) มีวัตถุประสงค์เพื่อความทันสมัยในแฟชั่นเสื้อผ้ามากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.29) รองลงมา คือ เผยแพร่การโฆษณาผ้าไทยให้กับผู้อื่น (ค่าเฉลี่ย 3.24) การตัดสินใจซื้อผ้าไทยบนเครือข่ายฯ เฟซบุ๊ก กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจซื้อผ้าไทยออนไลน์ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.94) เนื่องจากสามารถเลือกดูสินค้าผ้าไทยได้ตลอดเวลา (ค่าเฉลี่ย 3.07) และต่อรองราคาสินค้าได้ (ค่าเฉลี่ย 3.04) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุและการศึกษาแตกต่างกันมีการแสวงหาข้อมูลการโฆษณาผ้าไทยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวอย่างที่มีรายได้แตกต่างกัน (6,000 - 10,000 บาท และ 15,001 - 20,000 บาท และ 25,001 บาทขึ้นไป) มีการแสวงหาข้อมูลผ้าไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพแตกต่างกันแสวงหาข้อมูลผ้าไทยแตกต่างกัน โดยกลุ่มอาชีพนิสิตนักศึกษา แม่บ้าน เกษียณอายุ และกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชนมีการตัดสินใจซื้อผ้าไทยบนเครือข่ายฯ เฟซบุ๊ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 การแสวงหาข้อมูลการโฆษณามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผ้าไทย และมีความสัมพันธ์เชิงบวกหมายความว่าผู้ซื้อมีพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลการโฆษณามากก็จะมีการตัดสินใจซื้อผ้าไทยบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กมากตามไปด้วย


 

Article Details

บท
Articles

References

ภาษาไทย
กติกา สายสุนีย์ (2561) "Social Network คืออะไร" วันที่เข้าถึงข้อมูล 20 พฤษภาคม 2561, แหล่งที่มา https://keng.com/
2008/08/09/what-is-social-networking/

กนกพร ศักดิ์อุดมขจร. (2543). การแสวงหา การใช้ประโยชน์และพฤติกรรมการบริหารการเงินบุคคลของกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มติชนออนไลน์. กระทรวงวัฒนธรรมเชิญชวนใส่ผ้าไทย. วันที่เข้าถึงข้อมูล 31 สิงหาคม 2561, แหล่งที่มา https://www.
mathichon.co.th

กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2561). องค์ประกอบของการตลาดทางตรงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(1). มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

กิตติ สิริพัลลภ. (2547). การตลาดมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

จุฑามาศ พลายมี. (2556). ความพึงพอใจของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อโฆษณาออนไลน์ทาง Facebook ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐภัทร บทมาตร. (2553). การศึกษาพฤติกรรมและคุณลักษณะที่ผู้บริโภคเลือกใช้เว็บไซต์เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดารา ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2553). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ไทยรัฐออนไลน์. รับเกาะกระแสบุพเพสันนิวาส วธ.รณรงค์ข้าราชการแต่งกายด้วยผ้าไทยอาทิตย์ละวัน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 1 มีนาคม 2562, แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/1239504

นุจรีย์ มันตาวิวรรณ์. (2551). กระบวนการตอบสนองไอดาโมเดลของผู้บริโภคหญิงต่อการรีแบรนดิ้งของน้ำยาอุทัยทิพย์ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นุชจรินทร์ ชอบดำรงธรรม. (2553). อิทธิพลของสื่อโฆษณาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญล้อม อยู่ถาวร วงศ์ธีรา สุวรรณิน และเรืองเดช เร่งเพียร. (2553). ปัจจัยประกอบการซื้อของเด็กเล่นของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ประภานิชา ถาวรบุตร. (2555). พฤติกรรมและความพึงพอใจการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนของผู้ใช้ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยะภา วรรณสมพร (2556). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการใช้เฟซบุ๊กของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิชามญชุ์ มะลิขาว (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิบูล ทีปะปาล. (2543). การบริหารการตลาดยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

ภัศราภรณ์ อรัญเหม. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ซื้อในกิจกรรมการส่งเสริมการขายของห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด)) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภานุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษา Facebook.(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) สาขาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิกิพีเดีย. บุพเพสันนิวาส. วันที่เข้าถึงข้อมูล 20 ธันวาคม 2561, แหล่งที่มา https://th.m.wikipedia.org>wiki>บุพเพสันนิวาส.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค: ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2537). ผ้าไทย: 2537 ปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2544). แนวทางการสืบค้นสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2561). ระบบสถิติทางการทะเบียน วันที่เข้าถึงข้อมูล 18 มิถุนายน 2561, แหล่งที่มา https://stat.dopa.go.th

อดุลย์ จาตุรงคกุล และ ดลยา จาตุรงคกุล. (2543). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และ ดลยา จาตุรงคกุล. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Niche Market. Niche Market ตลาดเฉพาะกลุ่ม. วันที่เข้าถึงข้อมูล 30 สิงหาคม 2561, แหล่งที่มา https://ttmedia.
wordpress.com/2011/02/14/นิช-มาร์เก็ตnichemarket.ตลาดเฉพาะกลุ่ม

Niche-Marketing. Niche Marketing คืออะไร. วันที่เข้าถึงข้อมูล 30 สิงหาคม 2561, แหล่งที่มา https://millionaire-academy.com/niche-marketing/

ภาษาอังกฤษ
Atkin, C. (1973). Instrumental utilities and information seeking. In P. Clarke, New models for mass communication research. Oxford, England: Sage.Boundless, 2016.

McCombs & Becker. (1979). Using Mass Communication Theory. New Jersey: Printice. Hall.

Perreault, Cannon & McCarthy, 2009. Essentials of Marketing : A Marketing Strategy Planning Approach. (13th ed). New York: McGraw-Hill.

Schramm, Willbur. (1973) Men, Messages and Media: A Look at Human Communication. New York: Harper&Row.