แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวง ของผู้บริโภคเพศชาย

Main Article Content

ศศิชา เตียวลักษณ์
สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย 2) อิทธิพลของแรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวง และ 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย การวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย อายุระหว่าง 18 – 60 ปี มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล และเคยบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลวิจัยพบว่า แรงจูงใจ และการเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงและปานกลางตามลำดับ และตัวแปรทั้ง 3 ได้แก่ แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และ ทัศนคติล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชายของกลุ่มตัวอย่างได้

Article Details

บท
Articles

References

MARKETINGOOPS!. (2564). เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคสาย ‘มู(เตลู)’ กับแนวโน้มการตลาดที่เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจได้. วันที่เข้าถึงข้อมูล 20 กันยายน 2565 แหล่งที่มา https://www.marketingoops.com/exclusive/opinion/cmmu-reveals-research-uncertain-world-consumers-stressed-and-superstitious-more-2021

ขวัญเรือน กิติวัฒน์. (2531). แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ถวัลรัตน์ กัลชาญกิจ. (2558). บุคลิกภาพผู้บริโภค ความเชื่อโชคลางและพฤติกรรมการซื้อเครื่องประดับหินสีมงคล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธนาภรณ์ วิวัฒน์ศร. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อความเชื่อเรื่องโชคลางของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

นิภา นิรุตติกุล. (2563). Faith Marketing ความเชื่อ ความศรัทธา(ดวง) กับการทำการตลาด การสื่อสาร. วันที่เข้าถึงข้อมูล 20 กันยายน 2565 แหล่งที่มา https://www.brandage.com/article/11607/Marketing-You-Know-Faith-

บดีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการแก้ปีชงของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พรทรัพย์ ฉัตรศิริสุข. (2561). การเปิดรับ ความน่าเชื่อถือของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พรรณวดี หิรัญศุภโชค. (2564). ปัจจัยพยากรณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อและบริการเสริมดวงของกลุ่มผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ภัณฑิรา ไตรขันธ์. (2564). ปัจจัยความเชื่อของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการเลือกบูชากำไลตะกรุด (ร้าน Laila Amulets). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

วรธนัท อชิรธานนท์. (2565). พลังความเชื่อและความศรัทธาในวัตถุมงคลสู่เครื่องประดับอัญมณี. วารสาร มจธ เลย ปริทัศน์. 2(3), 50-61.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สุชาติ จันทรมณี. (2551). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการเช่าบูชาองค์จตุคามรามเทพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สุดารัตน์ โลกธรรมรักษ์. (2554). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับเพศชายของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. (ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, เพชรบุรี.

เสถียร เชยประทับ. (2525). การสื่อสารและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ครั้งที่2 โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงทพฯ: ไดมอนด์ อินบิสซิเนส เวิร์ด.

Jahoda, G. (1969). The psychology of superstition: Allen Lane.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). Hoboken, NJ: Prentice Hall.

Maccoby, E. E., & Jacklin, C. N. (1987). Gender segregation in childhood. In H. W. Reese (Ed.), Advances in child development and behavior, Vol. 20, pp. 239–287).

Mowen, J. C. and Minor, M. (1998). Consumer behavior. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.