การเปรียบเทียบองค์กรกำกับดูแลกันเองของวิชาชีพโฆษณาในต่างประเทศ

Main Article Content

นิชคุณ ตุวพลางกูร
บุหงา ชัยสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์กรกำกับดูแลกันเองของวิชาชีพโฆษณาในประเทศที่ประสบความสำเร็จ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารที่เป็นบันทึกสาธารณะจากองค์กรวิชาชีพสื่อโฆษณาเพื่อกำกับดูแลด้านจริยธรรมในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และจีน ผลการวิจัยพบว่า 1) สหราชอาณาจักรและออสเตรเลียมีการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ส่วนจีนมีความพยายามจัดระเบียบสื่อโลกใหม่ 2) การขับเคลื่อนการกำกับดูแลการโฆษณาในสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียได้พัฒนามาตรฐานจริยธรรม จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล และการสื่อสารองค์กร ส่วนองค์กรในจีนได้จัดตั้งสมาคมเพื่อกำกับดูแลการโฆษณา การศึกษาวิจัย และยกระดับอุตสาหกรรม 3) สหราชอาณาจักรและออสเตรเลียรับผิดชอบในด้านโครงสร้างพื้นฐาน กฎหมาย การบังคับใช้ การคุ้มครองผู้บริโภค การสนับสนุน และกำกับดูแล ส่วนองค์กรในจีนมีการกำหนดบทบาทครอบคลุมเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติม 4) องค์กรต่าง ๆ มีโครงสร้างองค์กรในส่วนคณะผู้บริหาร และคณะกรรมการตามขอบเขตการดำเนินงานของแต่ละองค์กร 5) องค์กรในออสเตรเลียและจีนมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ส่วนในสหราชอาณาจักรมีเป้าหมายเพื่อให้โฆษณามีความรับผิดชอบต่อสังคม 6) กลยุทธ์ขององค์กรภาครัฐมุ่งเน้นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความสะดวก และความปลอดภัย ส่วนองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกำกับดูแลการโฆษณามีกลยุทธ์ด้านการสร้างการยอมรับและการมีส่วนร่วม การจัดการเรื่องร้องเรียน และการบริหารจัดการองค์กร และ 7) องค์กรในสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียมีแหล่งที่มาของบประมาณจากเงินภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าปรับ ส่วนในจีนมีแหล่งที่มาจากช่องทางอื่น เช่น ค่าธรรมเนียมสมาชิก เงินบริจาค และเงินสนับสนุนจากรัฐบาล

Article Details

บท
Articles

References

กวี อิศริวรรณ. (2530). ความคิดทางการเมือง. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามบรรณ.

กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และ พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2553). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2556). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เดชพันธุ์ ประวิชัย. (2558). การโฆษณากับสังคม: Advertising in contemporary society. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทศพล สมพงษ์. (2556). พัฒนาการและการพัฒนาประชาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า.

นิวัต วงศ์พรหมปรีดา. รองนายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ฝ่ายมาตรฐานวิชาชีพ. (4 ตุลาคม 2561). สัมภาษณ์.

บุหงา ชัยสุวรรณ. (2561). การกำกับดูแลโฆษณา: หลักการ แนวปฏิบัติ และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดีฉัน เฮาส์ แอดเวอร์ไทซิ่ง.

ปรมะ สตะเวทิน. (2538). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

พจนา สัจจาศิลป์. (2548). การโฆษณากับสังคม: Advertising in contemporary society. กรุงเทพฯ: แผนกตำราและคำสอน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พนา ทองมีอาคม. (2546). การควบคุมโฆษณา มุมมองหนึ่งของนักวิชาการ. โรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ.

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551, (2551).

รดี ธนารักษ์. (2556). การศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางและกลไกการกำกับดูแลที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วิทยากร เชียงกูล. (2551). ปรัชญาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม. กรุงเทพฯ: สายธาร.

ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์ และ บุหงา ชัยสุวรรณ. (2559). ทิศทางการพัฒนาระบบกำกับดูแลการโฆษณาในสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 10(1), 117-146.

สมควร กวียะ. (2545). การสื่อสารมวลชน: บทบาทหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ ความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย. (ตุลาคม 2563). สรุปการกำกับดูแลตนเองของวิชาชีพโฆษณาในประเทศไทย. เอกสารนำเสนอในที่ประชุมเสวนาเวทีข้อเสนอเชิงนโยบายการกากับดูแลตนเองของวิชาชีพโฆษณา และการผลิตสื่อโฆษณาที่ตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ 32 การกำกับดูแลสื่อ วาระปฏิรูปที่ 33 สิทธิเสรีภาพสื่อบนความรับผิดชอบ วาระที่ 34 การป้องกันการแทรกแซงสื่อ. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ Mediumology หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นาคร.

ThaiPublica. (2557a). แนวทางการกำกับดูแลตนเองให้มีประสิทธิภาพตามกรอบมาตรฐานจริยธรรม จรรยาบรรณ และความรับผิดชอบ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 16 มีนาคม 2563 แหล่งที่มา https://thaipublica.org/ wp-content/

uploads/2014/04/2++กระบวนการในการกำกับดูแลตนเองและจรรยาบรรณ.pdf

ThaiPublica. (2557b). กสทช. เสนอคู่มือจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเอง แจงแผนปฏิบัติผู้ประกอบกิจการกรณีภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 16 มีนาคม 2563 แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2014/04/ethical-guideline-and-self-regulation-for-broadcasting/

ACMA. (2020). ACMA corporate plan 2020-2021. Retrieved March 24, 2020 from https://www.acma.gov.au/ sites/default/files/2020-08/ACMA%20Corporate%20plan%202020-21.pdf

Ad Standard. (2018a). Ad Standards. Retrieved March 16, 2020 from https://adstandards.com.au/about/ad-standards

Ad Standards. (2018b). Strategic plan. Retrieved March 16, 2020 from https://adstandards.com.au/about/ strategic-plan

Bartle, I., & Vass, P. (2005). Self-Regulation and the Regulatory State: A Survey of Policy and Practice (17). Retrieved March 16, 2020 from http://www.bath.ac.uk/management/cri/pubpdf/Research_Reports/17_Bartle_Vass.pdf

Bovee, C. L. (1995). Advertising excellence. New York: McGraw-Hill.

Campbell, A. J. (1999). Self-Regulation and the media. Federal Communications Law Journal, 51(3), 711-772.

Dacko, S. G., & Hart, M. (2005). Critically examining theory and practice: Implications for coregulation and coregulating broadcast advertising in the United Kingdom. The International Journal on Media Management, 7(1-2), 2-15.

Gray, O. (2012, November 7-8). Principles and Governance of Self-Regulation. Paper presented at the Advertising Standards-Principles and Practice Dialogue, Hanoi, Vietnam.

Harker, D. (2003). Towards effectiveness advertising self-regulation in Australia: the seven components. Journal of Marketing Communications, 9, 93-111.

Hobbes, T. (1839). Opera philosophical quae Latina scrip sit Omni. London: Londini.

ICC, (2018). ICC’s Advertising and Marketing Communication Code. Retrieved February 14, 2019 from https://iccwbo.org/publication/icc-advertising-and-marketing-communications-code/Kleinsteuber, H. J. (2004). The interest between regulation and governance: Guaranteeing media freedom on the internet. Amsterdam: Organization for Security and Co-operation in Europe.

Lane, W. R., King, K. W., Russell, J. T., & Kleppner, O. (2005). Kleppner's advertising procedure. Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice-Hall.

Livingstone, S. (2012). Critical reflections on the benefits of ICT in education. Oxford Review of Education, 38(1), 58-67.

Locke, J. (1823). Two treatises of government. London: Thomas Tegg.

McQuail, D. (1994). Mass communication theory (3rd ed.). Cambridge: Sage.

Office of Communication. (2018). What is Ofcom? Retrieved March 16, 2020 from https://www.ofcom.org.uk/about-ofcom/what-is-ofcom

Paizer, C., & Scheuer, A. (2014). Self-regulation, co-regulation, public regulation. Retrieved from http://emrsb.de/news/Paizer_Scheuer_Uneseco-Clearinghouse_Yearbook

Rousseau, J. J. (1896). Du contract social. London: Longmans.

Spence, E. H., & Heekeren, B. V. (2005). Advertising ethics. Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice Hall.

Tambini, D., Leonardi, D., & Marsden, C. (2007). Codifying cyberspace: Communications self-regulation in the age of internet convergence. London: Rutledge.

The Advertising Standards Authority. (2018a). About the ASA and CAP. Retrieved March 10, 2020 from https://www.asa.org.uk/about-asa-and-cap/about-regulation/about-the-asa-and-cap.html

The Advertising Standards Authority. (2018b). What we cover. Retrieved March 10, 2020 from https://www.asa.org.uk/about-asa-and-cap/the-work-we-do/what-we-cover.html

The European Advertising Standards Alliance. (2002). The EASA statement of common principles and operating standards of best practice. Retrieved January 25, 2019 from https://www.easaalliance.org/sites/default/files/EASA%20Best%20Practice%20Self-Regulatory%20Model.pdf

The European Advertising Standards Alliance. (2017). Advertising and the consumer experience of tomorrow: self-regulation ensuring responsible advertising in the digital age. Retrieved January 25, 2019 from http://www.easa-alliance.org/about-easa/anniversary

The European Advertising Standards Alliance. (2018). What we do. Retrieved January 25, 2019 from http://www.easa-alliance.org/about-easa/what-we-do

The International Council for Advertising Self-Regulation. (2017). International guide to developing a self-regulatory organization. Belgium: Brussels.

Wageman, R., & Tang. B. (2014). China's ad industry headed for self-regulation. Retrieved from https://www.campaignasia.com/article/chinas-ad-industry-headed-for-self-regulation/392122

Wells, W., Moriarty, S. E., & Burnett, J. J. (2006). Advertising: principles & practice. Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice Hall.

Williams, D. L. (2014). Rousseau's social contract: an introduction. Cambridge: Cambridge University Press.

Wiggs, G. (2012, Novemeber 7-8). The Regulatory Pyramid. Paper presented at the Advertising Standards-Principles and Practice Dialogue, Hanoi, Vietnam.

Wiggs, G., & Calvert, C. (2018). New ICC Code [Press release]