การสร้างแบบวัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทธุรกิจในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างแบบวัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทธุรกิจในประเทศ ไทย โดยมีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) การสร้าง และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด โดยสร้างแบบวัด จากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี และนำไปตรวจสอบความ ถูกต้องเชิงเนื้อหา (Content Validity) การตรวจสอบ ความถูกต้องเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) โดยให้ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และ การตรวจสอบความเที่ยงตรง (Reliability) โดยใช้การ วิเคราะห์ประสิทธิ์อัลฟ่าของคอนบาร์ช 2) การตรวจสอบ ความเหมาะสมในการใช้งานจริงของแบบวัด โดยการ สัมภาษณ์ผู้บริหารที่รับผิดชอบกิจกรรมความรับผิดชอบ ต่อสังคมของบริษัทธุรกิจประเภท 8 ประเภทธุรกิจ ประเภทธุรกิจละ 1 บริษัท
การวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาแบบวัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทธุรกิจในประเทศไทย โดยมีข้อความ ที่ใช้ในแบบวัดทั้งหมด 47 ข้อความ ประกอบด้วย (1) ด้านสังคม 13 ข้อความ ผลการตรวจสอบความถูกต้อง เชิงเนื้อหา (Content Validity) ได้ 0.82 และผลการตรวจ สอบความถูกต้องเชิงโครงสร้าง(Construct Validity) ได้ 0.63 (2) ด้านสิ่งแวดล้อม 12 ข้อความ ผลการตรวจสอบ ความถูกต้องเชิงเนื้อหา (Content Validity) ได้ 0.79 และผลการตรวจสอบความถูกต้องเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ได้ 0.80 (3) ด้านการบริหารจัดการหรือ เศรษฐกิจ 22 ข้อความ ผลการตรวจสอบความถูกต้อง เชิงเนื้อหา (Content Validity) ได้ 0.82 และผลการตรวจ สอบความถูกต้องเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ได้ 0.79 ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรง (Reliability) พบว่าแบบวัดทั้งชุดมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของคอนบาร์ช 0.96
สำหรับการตรวจสอบความเหมาะสมในการใช้ งานของแบบวัด พบว่า ในภาพรวมแบบวัดมีความ เหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้จริง ทั้งนี้การนำไปใช้จริง สามารถปรับให้สอดคล้องกับประเภทธุรกิจ ขนาด และ นโยบายด้านซีเอสอาร์ของบริษัท