การวิเคราะห์ ประเมิน การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) ของประชาชนไทย
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อประเมินผล การรับทราบสื่อสาธารณะเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) ในปี 2554 ที่เผยแพร่โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข การสำรวจแบบภาคตัดขวาง ในประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 10,319 คนทั่วประเทศ การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่ ง ประกอบด้วยส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 การได้รับ ข้อมูลข่าวสาร ส่วนที่ 3 ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้ หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) และส่วนที่ 4 การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) วิเคราะห์สถิติด้วยการวิเคราะห์ถดถอย แบบเชิงชั้น (Hierarchical regression analysis) ผลการ ศึกษาพบว่าช่องทางการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) 3 อันดับแรก ได้แก่ การเปิดรับสื่อโทรทัศน์และเคเบิ้ล ทีวี รองลงไปได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และคนใน ชุมชน พระ ครู ปราชญ์ ชาวบ้าน อสม. ด้านความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ พบว่าประชาชน มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) มากที่สุด ในประเด็นของอาการของโรค การแพร่ กระจายติดต่อของโรค และระยะเวลาในการแพร่เชื้อ ด้านพฤติกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) ด้านการล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หลังปฏิบัติกิจวัตร ประจำวัน เช่นก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังไอ จาม สั่งน้ำมูก หลังขับถ่าย มากที่สุด รองลงไปได้แก่ การใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นและ การใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอจาม