การกำหนดนิติสัมพันธ์ในการโฆษณาสินค้าและบริการ ผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์
คำสำคัญ:
นิติสัมพันธ์, โฆษณา, สินค้าและบริการ, ผู้ทรงอิทธิพล, สื่อสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิดทฤษฎีและหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการเกิดนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายไทย (2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่และผลของการเกิดนิติสัมพันธ์เพื่อการโฆษณาสินค้าและบริการผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ และ (3) เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับการกำหนดนิติสัมพันธ์เพื่อการโฆษณาสินค้าและบริการผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนากฎหมายต่อไป ด้วยวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะความสัมพันธ์ของผู้ประกอบการเจ้าของสินค้าและบริการกับทรงอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งรับทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งตามกฎหมายไทย กฎหมายประเทศสวีเดนและกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางพาณิชย์ธุรกิจ นับแต่เวลาที่มีทั้งสองฝ่ายแสดงเจตนาทำความตกลงร่วมกันตามหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนา และเกิดสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อกันตามหลักความรับผิดในทางสัญญา โดยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะที่กำหนดถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทรงอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ต่อผู้บริโภคโดยตรง รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติในลักษณะที่กำหนดให้ผู้ประกอบการสินค้าและบริการและผู้ทรงอิทธิพลทางสื่อออนไลน์มีหน้าที่ต้องแสดงออกโดยเปิดเผยต่อสาธารณะถึงนิติสัมพันธ์ของตน และติดตามเพื่อควบคุมดูแล เช่น อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้ Federal Trade Commission (FTC) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานควบคุมดูแล และเอาผิดในกรณีที่มีการนำเสนอข้อมูล โฆษณา หรือวิจารณ์สินค้าหรือบริการอันมีลักษณะที่เป็นการรับรองสินค้า โดยมิได้มีการเปิดเผยถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ มีข้อเสนอแนะให้มีการกำหนดมาตรการบังคับให้ผู้ประกอบการและผู้ทรงอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ แสดงข้อความ ถ้อยคำหรือรายละเอียดอื่นใดที่เข้าใจได้อย่างชัดเจนและเปิดเผยเกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ของตนในขณะส่งสารไปยังผู้บริโภค และต้องควบคุมไม่ให้มีการใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งควรจัดตั้งส่วนงานของรัฐขึ้นมาทำหน้าที่ในการติดตามและตรวจสอบเกี่ยวกับการดำเนินการเป็นการเฉพาะ
References
Catalina, G. and Sofia, R. (2020). The Regulation of Social Media Influencers. Massachusetts, USA: Edward Elgar.
Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2017. (in Thai)
Consumer Protection Act, B.E.1979, as amended (No. 2), B.E. 1998. (in Thai)
Fassihi, R. and Zenk, K. (2020). Swedish Patent and Market Court of Appeal clarifies rules on influencer marketing. Journal of Intellectual Property Law & Practice, 15(3), 161–162. https://doi.org/10.1093/jiplp/jpaa008
Lipschultz, J. H. (2020). Social Media Communication: Concepts, Practices, Data, Law and Ethics. 3rd ed. New York, USA: Routledge.
Harvard Business Review. (2021). How Brands Can Build Successful Relationships with Influencers. [Online]. Retrieved from: https://hbr.org/2019/04/how-brands-can-build-successful-relationships-with-influencers.
Noypanya, T. (2020). Social Media Influence. [Online]. Retrieved from: https://thaipublica.org/2017/11/toppol7/. (in Thai)
Onathan, M. (2021). Social Media Influencers: Contracts and Brand Agreements. [Online]. Retrieved from:https://www.girlings.com/latest/social-media-influencers-contracts-and-brand-agreements.
Smforedu, (2020). Ethics and online benefits. [Online]. Retrieved from: http://smforedu.blogspot.com/2014/02/blog-post.html.
Sotipan J. (2005). The principle of libility before the contrac. 3rd ed. Bangkok: Winyuchon Publishing House. (in Thai)
The Consumer Ombudsman v Alexandra Media Sweden AB and Tourn Media AB. (2019). Tourn Media AB, Patent and Market Court of Appeal, PMT 2054-18, 5 December 2019.
The Swedish Arbitration Association. (2019). Swedish Contract Law. [Online]. Retrieved from: https://nysba.org/NYSBA/Sections/International /Events/2019/Stockholm/Coursebook/ Swedish%20Contract%20Law%20-%20Danielsson.pdf.
Ulrich, P. and Fearns J. (2010). Integrative Economic Ethics. Cambridge, UK: Cambridge University Press.
Unfair Commercial Practices. (2021). Eur-lex.europa.eu 2021. [Online]. Retrieved 3 July 2021, from: https://eurlex.europa.eu/legalcontent/EN/TXT/?uri=LEGISSUM%3Al32011&qid=1627226462139.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
โปรดดูที่จริยธรรมการตีพิมพ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/Ethics