แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ของพนักงานอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพในการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่และประสิทธิภาพในการทำงาน และเพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 251 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 25-35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีระยะเวลาในการทำงาน 1-10 ปีสำหรับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมพนักงานมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและพิจารณาเป็นรายด้านประกอบด้วย ด้านการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ด้านลักษณะงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านผลตอบแทนตามลำดับ สำหรับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานโดยระดับความคิดเห็นในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และหากพิจารณาเป็นรายด้านประกอบด้วยด้านแรกคือปริมาณงาน และด้านที่สองคือด้านเวลา สำหรับสหสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานฯ พบว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานฯ มีความสัมพันธ์กับด้านการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน (X3) และด้านผลตอบแทน (X4) หรือสามารถอธิบายเป็นสมการความสัมพันธ์ถดถอย ดังนี้ ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานฯ (Z) = 2.147 + (.306*X3) + (.190*X4)
References
Best, W. J. (1997). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice–Hell.
Department of Industrial Works, Ministry of Industry. (2019). Factory information. [Online]. Retrieved from: https: //www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=data1search. Retrieved 12 December 2019. (in Thai)
Herzberg, F. and others. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.
Jackson, S. E. and Schuler, R. (2003). Managing human resource through strategic partnership. 8th ed. Cincinnati, OH: South -Western.
Mager, R. and Beach, K. (1967). Developing Vocational Instruction. California: Pitman Learning.
Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper and Brother. Nakhon Pathom: Rajamangala University of Technology Rattanakosin. (in Thai)
Peterson, E. and Plowman, E.G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.
Pigors, P. and Myers, C.A. (1981). Personnel Administration. 9th ed. Tokyo: McGraw-Hill.
Pormaayon, K. (2002). Efficiency in the performance of the police officers. Immigration Division: Study only in the case of the police service, Division 1, Division 2. Bangkok: Thesis of the Degree of Master of Arts Program in Political Science. (in Thai)
Ramangkool, W. (2019). Pulp and paper industry. [Online]. Retrieved from: https://www.prachachat.net/opinion -column/news-359407. Searched on January 5, 2020. (in Thai)
Sweeney, P. D. and McFarlin, D. B. (2002). Organizational behavior: Solutions for management. Boston: McGraw-Hill Irwin.
Tantikul, J. and Sitthiwarongchai, C. (2017). Factors affecting employee engagement with the organization of Garment Co., Ltd. Journal of Innovation and Management, 2, 54-66. (in Thai)
Tirakanan, S. (2013). Research Methods in Social Science: A Guide to Practice. 11th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Triprasitchai, T. (2014). Factors affecting employee retention in the organization in 5-star hotel industry in Bangkok. Thesis of the Degree of Master of Arts. Bangkok: Bangkok University. (in Thai)
Urai, P. (2016). Employee Motivation: Case Study of AGC Automotive (Thailand) Co., Ltd. Thesis of the Degree of Master of Arts. Bangkok: Krirk University. (in Thai)
U-Taa-Wong, N. (2015). Motivating Factors Affecting Personnel Performance Case Study: Personnel Cultural Promotion Organization Tourism and sports in Bangkok. Thesis of the Degree of Master of Business Administration.
Veerasakkarun, U. (2013). Factors affecting the operational needs of the police officers. Crowd Control and Prevention Division. Pathum Thani: Valaya Alongkorn Rajabhat University Under royal patronage. (in Thai)
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York. Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารนวัตกรรมและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
โปรดดูที่จริยธรรมการตีพิมพ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/Ethics