รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือ ของชาวลัวะในภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พรต เสตสุวรรณ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วันชัย ปานจันทร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศจีมาจ ณ วิเชียร วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • นวลละออ แสงสุข คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชุมพล รอดแจ่ม วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการความรู้, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, หัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือของชาวลัวะ, ชาวลัวะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้ และองค์ความรู้ที่จำเป็นในการทำหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือของชาวลัวะ ในภาคเหนือของประเทศไทย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือของชาวลัวะในภาคเหนือของประเทศไทย และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือของชาวลัวะในภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีขอบเขตพื้นที่การศึกษาคือหมู่บ้านชาวลัวะ บ้านมืดหลอง ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยประชากรและวิธีการศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการจัดการความรู้ และองค์ความรู้ที่จำเป็น และ 2) สร้างรูปแบบการจัดการความรู้ จากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญ และด้านนักวิชาการ จำนวน 9 คน 3) ประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ โดยนักวิชาการด้านการจัดการความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ด้านหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือของชาวลัวะ ประกอบไปด้วย 1) องค์ความรู้ด้านการผลิตเส้นใยฝ้าย การตกแต่งลวดลายบนผืนผ้าฝ้าย และการทอผ้าฝ้าย 2) องค์ความรู้ด้านการย้อมสีเส้นใยฝ้าย 3) องค์ความรู้ด้านผ้า และการใช้สอยผ้าฝ้าย โดยนำองค์ความรู้ที่ได้มาผ่านกระบวนการจัดการความรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้ของ Marquardt มาสร้างเป็นรูปแบบการจัดการความรู้ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การแสวงหาความรู้ ด้วยวิธีการสังเกต สัมผัส เปรียบเทียบ โดยอาศัยวัตถุต้นแบบ จากผ้าทอโบราณในครอบครัว โดยวิธีการสอบถาม พูดคุย กับช่างทอผ้าในหมู่บ้าน 2) การสร้างความรู้ โดยวิธีการสังเกต และทดลอง ซึ่งเป็นการเรียนรู้และฝึกฝนจนเกิดความเชี่ยวชาญด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ใหม่ในกรอบเดิม 3) การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ด้วยวิธีการสอบถาม พูดคุย หรือการทำเลียนแบบ กับช่างทอผ้าในหมู่บ้าน รวมไปถึงการสังเกตเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงประกอบพิธีกรรม 4) การประยุกต์ปรับใช้ความรู้ โดยการนำความรู้ 3 ขั้นแรกมาใช้โดยตรงด้วยตนเอง และโดยการนำความรู้มาปรับใช้ และปรับเปลี่ยนด้วยตนเอง

References

Brooking, A. (1999). Corporate Memory: Strategies for Knowledge Management. London: Thomson International Business Press.

Dam-Nern, P. (2006). Knowledge management in the community. Buriram: Buriram Rajabhat University. (in Thai)

Davenport, T. H. (1997). Information ecology. New York: Oxford University Press.

Dee Si Tham, K. (2003). Increasing productivity in industrial work. Publishing House, Electrical and Electronics Institute. Bangkok: Sun Ad and Print Limited Partnership. (in Thai)

Jindawong, P. (2006). Knowledge Management = Knowledge Management: The Experience. Bangkok: CWC. Printing. (in Thai)

Marquardt, M.J. (2002). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

Nonaka, I. (1994). A dynamic theory of organizational knowledge creation. Organization Science, 5(1), 14-37.

Raj, M. (1996). Encychopadic of Psychology and Education: Volumn 3 (M-Z). New Delhi: ANMOL Publications PVT.

Sirindhorn Anthropology Center. (1999). Society and culture in Thailand. Thailand: Culture and society. Sisa-at, B. (2002). Initial research. 7th ed. Bangkok: Suveeriyasan. (in Thai)

Tantikul, J. and Sitthiwarongchai, C. (2017). Factors affecting employee engagement with the organization of Garment Co., Ltd. Innovation and Management Journal, 2, 54-66. (in Thai)

Thongdeerert, C. (2004). Local knowledge: Knowledge management towards social management. Bangkok: College of Social Management. (in Thai)

Wichianpanya, P. (2004). Knowledge Management: Fundamentals and Applications. Bangkok: P.O. (in Thai)

Wigg, K. (1993). Knowledge Management Foundations. Arlington: Schema Press.

Wipawin, N. (2004). Knowledge management and knowledge base. Bangkok: SR Printing Mass Products. (in Thai)

Withet, N. (1999). Knowledge Management: Techniques for translating knowledge into competitive advantage. (Translated from Thomas H. Davenport, Lawrence Przac). Bangkok: Print D. (in Thai)

Yosyingyong, K. (2006). Organization knowledge management and case studies. Bangkok: Mr. Copy (Thailand) Ltd. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-05

How to Cite

เสตสุวรรณ พ., ปานจันทร์ ว. ., ณ วิเชียร ศ. ., แสงสุข น. ., & รอดแจ่ม ช. (2020). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือ ของชาวลัวะในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 5(-), 41–58. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/243998