การออกแบบการจัดกลุ่มสินค้าเพื่อลดระยะเวลาการหยิบสินค้ากรณีศึกษาบริษัท AAA
คำสำคัญ:
การออกแบบการจัดกลุ่มสินค้า, ลดระยะเวลาการหยิบสินค้าบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์การจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าแบบ ABC 2) เพื่อออกแบบคลังสินค้า และ 3) เพื่อลดระยะเวลาในการหยิบสินค้า ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชากรซึ่งเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในคลังสินค้า จำนวน 50 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าแบบ ABC กลุ่มสินค้า A (กลุ่มสินค้าเด็กและวัยรุ่น) มีปริมาณร้อยละ 35 กลุ่มสินค้า B (กลุ่มเสื้อผ้าวัยรุ่น และเสื้อผ้าสตรี) มีปริมาณร้อยละ 41 และกลุ่มสินค้า C (กลุ่มสินค้ารองเท้าและสินค้าที่ระลึก) มีปริมาณร้อยละ 25 มีการแบ่งให้ง่ายต่อการจัดวาง Location ตามความเคลื่อนไหวมากน้อยของสินค้า และระยะทางในการดำเนินงานที่สั้นลง 2) การออกแบบคลังสินค้า มี 3 แบบ คือ 1) คลังสินค้าแบบปัจจุบัน กลุ่มสินค้า B วางสินค้าไว้ด้านหน้า กลุ่มสินค้า A วางสินค้าต่อจากกลุ่ม B และกลุ่มสินค้า C วางต่อจากกลุ่มสินค้า A 2) คลังสินค้าโดยแบ่งกลุ่ม ABC แบบแนวขวาง สินค้ากลุ่ม A มีการวางสินค้าไว้ส่วนด้านหน้า ใกล้กับส่วนเช็คสินค้าออก สะดวกในการเบิกจ่ายสินค้า เนื่องจากสินค้ามีการเคลื่อนไหวอย่างเร็วมาก สินค้ากลุ่ม B เป็นกลุ่มสินค้าที่มีการเบิกจ่ายอย่างรวดเร็วอีกกลุ่มหนึ่ง จึงจัดระยะทางให้เหมาะสมกับการเบิกจ่ายที่มีความคล่องตัว และสินค้ากลุ่ม C มีอัตราการหยิบสินค้าน้อยครั้ง จึงควรจัดวางไว้ด้านในแนวช่วงกลางให้มีพื้นที่ว่างด้านหน้า สามารถนำสินค้าใหม่เข้ามาวางเรียงรอการเบิก ทำให้มีพื้นที่พักสินค้า สะดวกในการเรียงหยิบสินค้าได้ตามคำสั่ง 3) คลังสินค้าออกแบบแบ่งกลุ่ม ABC เป็นแถวตอนลึก กลุ่มสินค้า A วางเป็นแถวตอนลึก จัดไว้ใกล้โซนเช็คสินค้าออกทำให้ระยะทางใกล้และใช้เวลาสั้นลง สามารถมองเห็นการทำงานของพนักงานได้อย่างทั่วถึง และมีพื้นที่หน้าชั้นวางสินค้าเพื่อรอการเบิก-จ่ายสินค้าได้อีกด้วย กลุ่มสินค้า B ได้จัดพื้นที่วางต่อจากกลุ่ม A เพื่อให้สะดวกในการหยิบสินค้าและกลุ่มสินค้า C แบ่งตามกลุ่มสินค้าเคลื่อนไหวช้าวางไว้ด้านหลัง กลุ่ม A และกลุ่ม B และ 3) การออกแบบคลังสินค้ามีผลเพื่อให้เกิดการลดเวลาในการหยิบสินค้า ควรวิเคราะห์ตัวกลุ่มสินค้า เพื่อออกแบบการจัดแผนผังคลังสินค้า การกำหนดโซน Location เป็นตัวกำหนดทิศทางในการเดินหยิบสินค้าในแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการค้นหาสินค้าและสามารถหยิบสินค้าได้อย่างรวดเร็ว และการจัดเก็บสินค้าเข้าและคืนเข้าสู่โซนพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและสามารถเพิ่มผลผลิตในการหยิบสินค้าและได้มีความคล่องตัวในการทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้าอีกด้วย
References
Kamponjiraphan, N. (2013). Increasing the efficiency of storage of goods and raw materials, a case study of AA Steel Company Limited (Thailand). Independent Study of the Degree of Master of Business Administration Program in Logistics Management. Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce. (in Thai)
Sangchote, V. (2015). Increasing efficiency of finished warehouse management. A case study of a silicone coated paper making factory. Thesis of the Degree of Master of Science Program in Logistics and Supply Chain Management. Bangkok: Burapha University. (in Thai)
Siricharoenwat, S. (2012). Increasing efficiency in product registration: A case study of Phumthai Comsys Company Limited. Independent Study of the Degree of Master of Business Administration Program in Logistics Management. Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce. (in Thai)
Sorat, T. (2009). A Guide to Warehouse and Distribution Management. Bangkok: V-Serv Logistics. (in Thai)
Srikan, M. and Monthatipkul, C. (2013). Efficiency Improvement of Location Assignment of Products in a Warehouse: A case Study of Srithai Superware Public Company Limited, Suksawad Branch. WMS Journal of Management, 2(3), 8-20. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
โปรดดูที่จริยธรรมการตีพิมพ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/Ethics