9.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเทศบาลตาบลบ้านเดื่อ อาเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

Authors

  • นายอมรพันธุ์ เปล่งงูเหลือม รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Keywords:

การพัฒนาชุมชน, เศรษฐกิจพอเพียง community development, Philosophy of Sufficiency Economy

Abstract

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตาบลบ้านเดื่อ อาเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตาบลบ้านเดื่อ อาเภอเกษตรสมบูรณ์จังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเทศบาลตาบลบ้านเดื่อ อาเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ตาบลบ้านเดื่อ ที่มีอายุ 18 – 70 ปีขึ้นไป จานวน 383 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ให้สัมภาษณ์ กาหนดวิธีการเลือกมาโดยการเจาะจงเลือก จานวน 38 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน เทศบาลตาบลบ้านเดื่อ อาเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ 2 พบว่า ปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคือ ปัจจัยภายใน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก และรองลงมาคือ ปัจจัยภายนอก มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 1.1 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน 2 ด้าน พบว่า ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า คือ มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 3.64, S.D.= 0.68) และด้านการสนับสนุนจากภาคเอกชน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X= 3.48, S.D.= 0.65) 1.2 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน 4 ด้าน พบว่า ด้านจิตสานึก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X= 4.19, S.D.= 0.72) รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (X= 4.18, S.D.= 0.69) ด้านภูมิปัญญา อยู่ในระดับมาก (X= 4.14, S.D.= 0.76) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านวิถีชีวิตอยู่ในระดับมาก (X= 3.99, S.D.= 0.77) 2) ผลการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน เทศบาลตาบลบ้านเดื่อ อาเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ประเด็นสาคัญสรุปได้ดังนี้ สมาชิกในครอบครัวขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงในการนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ความสาคัญน้อย และไม่ให้การสนับสนุนเนื่องจาก ใช้เวลาในการลงมือปฏิบัตินานและเห็นผลช้า บางครอบครัวปฏิบัติเฉพาะช่วงแรกๆขาดความต่อเนื่อง คณะกรรมการในการดาเนินงานของกลุ่มต่างๆ ยังขาดความรู้และทักษะในการบริหารจัดการโครงการ ต้องอาศัยผู้นาในพื้นที่เป็นหลัก ในการดาเนินงาน ประชาชน
ส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมเพียงระยะแรกๆ ภายหลังจะค่อยๆ ลดความต่อเนื่องลงเรื่อยๆ สาเหตุเนื่องจากการบริหารงานไม่เป็นการกระจายบทบาทหน้าที่และไม่เป็นทีม การบริหารจัดการไม่ค่อยมีประสิทธิภาพและยังไม่มีลักษณะของการร่วมกันทากันคิดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออานวย ขาดหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ทาให้การดาเนินงานบางโครงการของชุมชนยังไม่ประสบผลสาเร็จเท่าที่ควร 3) ผลการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน เทศบาลตาบลบ้านเดื่อ อาเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ พบว่ามีประเด็นที่สรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ให้สัมภาษณ์ได้นาแนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดาเนินชีวิต ดังนี้ มีการนาเอาทรัพยากรและสิ่งของต่างๆ มาใช้อย่างสิ้นเปลือง ทาให้ความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ไม่รู้จักความพอเพียง ไม่รู้จักการพึ่งพาตนเอง ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่อพยพเข้าไปหางานทาในเมือง ละทิ้งการเกษตรและการกินอยู่อย่างพอเพียง ค่าครองชีพสูงขึ้น ทาให้รายได้ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงชีพ ดังนั้นการน้อมนาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดาเนินชีวิต จะทา
ให้มีชีวิตอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเองได้ และสามารถที่จะจัดสรรทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด2) ผู้ให้การสัมภาษณ์ได้เผยแพร่ส่งเสริมให้คนในชุมชนนาแนวคิดตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ โดยการส่งเสริมให้ปลูกผักสวนครัว ส่งเสริมให้นาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ ส่งเสริมให้ออมเงิน และทารายรับ – รายจ่าย การส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ และจัดหาวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตามลาดับ 3) เมื่อชุมชนมีการนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แล้ว มีการเปลี่ยนแปลง คือ มีการลดรายจ่าย การดาเนินชีวิตอย่างมีความสุข หนี้สินลดลงมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีการเพิ่มรายได้ ตามลาดับ และ 4) แนวทางในการพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ การรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพเสริม การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับเทคโนโ ลยีสมัยใหม่ การส่งเสริมให้โรงเรียนมีการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การจัดประชุมประจาเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้นากับชุมชนและการพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้างศีลธรรม ตามลาดับ

References

1. กรมการพัฒนาชุมชน. (2548 ก). แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน สาหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน.กรุงเทพฯ : บางกอกบล๊อค.

2. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.(2548). ประมวลคาในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช 2453–2546 ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

3. คณะกรร มการขับเคลื่อนเศรษฐ กิจพอเ พียง .(2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง . กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.

4. จุฑามาศ แก้วพิจิตร. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง : จากปรัชญาสู่การปฏิบัติ .การสัมมนาประจาปี เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง : จากปรัชญาสู่การปฏิบัติ จัดโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://library2 . parliament.go.th/wichakarn/contentseminar/20070327.html

5. ธนพร ถ้าสิงห์. (2549). การดาเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. สานักพัฒนาการประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2559 จาก http://hq.prd.go.th/prTechnicalDM/ewt_news.php?nid=1890

6. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2553.

7. ภาณี ชนาธิปกรณ์. (2548). การพัฒนาที่ยั่งยืนความสมดุลของการพัฒนา. เศรษฐกิจและสังคม, 42(3), 40-42.

8. ระบบศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อการบริหารจัดเก็บและใช้ประโยชน์กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวง มหาดไทย. (2553).หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของจังหวัดชัยภูมิ ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยประจาปี งบประมาณ 2553 (ศศพ.3). สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2558, ddata.cdd.go.th/atacenter/index.php

9. วิศาล บุปผเวส และคณะ. (20 มกราคม 2542). ทฤษฎีใหม่ในมุมมองพัฒนาการเศรษฐกิจ. ใน เอกสารประกอบประกอบการสัมมนา เรื่อง ทฤษฎีใหม่ในมุมมองพัฒนาการเศรษฐกิจ. (หน้า 11). กรุงเทพฯ : คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

10. สมพร เทพสิทธา. (2549). การเดินตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียง. ม.ป.ท. : กองทุนอริยมรรค.สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด(พ.ศ.2555-2559).กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Downloads

Published

2016-01-05

How to Cite

เปล่งงูเหลือม น. (2016). 9.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเทศบาลตาบลบ้านเดื่อ อาเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. Journal of Innovation and Management, 1(-), 74–85. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/223299

Issue

Section

Academic Articles