6.กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาของประชากรในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • พิทยาธร บุญวรรณ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Keywords:

การประชาสัมพันธ์, การรับรู้, ภาพลักษณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลด้านประชากรที่มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) การรับรู้การประชาสัมพันธ์ของประชากรที่มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยฯ และ 3) ความสัมพันธ์ของการรับรู้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์กับภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยฯ ในทุกมิติ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในเขต กทม. จานวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้แบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 15 – 26 ปี มีระดับการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาท และส่วนใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์ด้านบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ 2) เพศที่แตกต่างกันไม่ส่งผลให้เกิดการรับรู้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และความสัมพันธ์ด้านบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ 3) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยฯ ในภาพรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.30) โดยผ่านการรับรู้การประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อ จากสื่อประเภทสื่อสังคมออนไลน์ Facebook (xˉ = 3.27) และการประชาสัมพันธ์โดยไม่ใช้สื่อ จากสื่อประเภทสื่อบุคคล (xˉ = 3.10) 4) ความสัมพันธ์ของการประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อ และการประชาสัมพันธ์โดยไม่ใช้สื่อ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยฯ ทั้ง 5 ด้าน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

1. ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (2556). เปิดวิสัยทัศน์ “ รศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย” อธ.คนใหม่ “สวนสุนันา”. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/campus/viewnews.aspx?NewsID=9560000001211, 2 กันยายน 2557.

2. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสาหรับงานวิจัย. สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

3. จิตสวาท ปาละสิงห์. (2555). การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ และภาพลักษณ์ของคณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในทัศนะของ ประชาชนในเขตอาเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 20 (ฉบับที่ 33) (มกราคม มิถุนายน), 75 93.

4. ธิติ รักชาติ. (2555). รูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อ ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิจัยราช- ภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,
ปีที่ 7 (ฉบับที่ 1) (มกราคม มิถุนายน), 24 – 34.

5. พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2552). “การบริหารภาพลักษณ์ องค์การ.” ใน เอกสารประกอบการสอนชุด วิชาการบริหารงานประชาสัมพันธ์. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมธิราช, นนทบุรี.

6. พิศิษฐ์ หิรัญกิจ. (2554). “ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย รามคาแหงในทัศนะของ นักศึกษา ประชาชน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น.” มหาวิทยาลัยรามคาแหง, กรุงเทพฯ. (อัดสาเนา)

7. รวีโรจน์ สิงห์ลาพอง. (2558). “อธิการฯ ชี้ จากราชภัฏ อันดับ 1 มุ่งวางมาตรการยกระดับสู่คิวเอส หลัง ยอดสอบตรงพุ่งกว่าสี่หมื่น พร้อมเปิดศูนย์ฯ ศาลายาครบวงจร” มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร. (อัดสาเนา)

8. รณชัย คงกะพันธ์. (2554). ภาพลักษณ์วิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ในแง่มุมของประชาชนจังหวัดภูเก็ต. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นจาก http://www.rc.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2554_Puket_Ronnachai.pdf, 15 กันยายน 2557.

9. ศุภฤกษ์ โพธิไพรัตนา. (2555). “สภานภาพและการรับรู้ ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมใน ทัศนะของกลุ่มผู้มีส่วยได้ส่วนเสียในเขต กรุงเทพมหานคร.” สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพฯ. (อัดสาเนา)

10. วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

11. สานักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2557). กลุ่มงานวิจัยและ ประเมินผล. สถิติกรุงเทพมหานคร ปี 2557. กลุ่มงานวิจัยและประเมินผลสานักยุทธศาสตร์และประเมินผล, ม.ป.ท.

12. เสรี วงษ์มณฑา. (2542). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสาร การตลาด. วิสิทธิ์พัฒนา, กรุงเทพฯ.

13. เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสาร การตลาด. Diamond In Business World, กรุงเทพฯ.

14. อรวรรณ สุขมา. (2558) “สวนสุนันทา แชมป์ราชภัฏ 3 สมัย ติดต่อ วางเป้าสร้างชื่อติด 1 ใน 15 ของประเทศ” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ. (อัดสาเนา)

15. อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2555). การสารวจภาพลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ: ศึกษา เฉพาะกรณี 25 โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา, ปีที่ 5 (ฉบับที่ 2), 1 – 14.

16. อภิชัจ พูลสวัสดิ์ และกลุทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2556). การประชาสัมพันธ์ภายใต้กระแสสื่อสังคมออนไลน์. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, ปีที่ 6 (ฉบับที่ 2), 24 – 38 Ranking Web Of Universities. 2014. Thailand. [Electronic version] Retrieved from: http://www.webometrics.info/en/Asia/Thail and, September 3, 2014.

Downloads

Published

2016-01-05

How to Cite

บุญวรรณ์ พ. (2016). 6.กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาของประชากรในกรุงเทพมหานคร. Journal of Innovation and Management, 1(-), 46–52. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/223293

Issue

Section

Academic Articles