3.การดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน

Authors

  • บุศรา บุตอัง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ปภาวรินทร์ กล่าสนอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สุนีย์ วรรธนโกมล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Keywords:

การรับรู้การดาเนินงาน, ความรับผิดชอบต่อสังคม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดาเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จานวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนทางเดียว และไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง อายุ 18 – 25 ปี สถานภาพโสด การศึกษา ปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 30,000 บาท การรับรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารโครงการจากสื่อโทรทัศน์ และรับรู้ข้อมูลสื่อบุคคลจากเพื่อน ลักษณะกิจกรรมเป็นการแจกสิ่งของให้ผู้ประสบภัย การดาเนินโครงการทาให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดีขึ้น โดยการมีส่วนร่วมจากพนักงานองค์กรควรเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยโครงการที่ได้รับความนิยม คือ ฝึกอบรมและจัดการส่งเสริมอาชีพสาหรับผู้ด้อยโอกาส ปีละ 2 3 ครั้ง ระดับการรับรู้โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับด้านเพศ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จานวน 3 รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับด้านอายุ จานวน 3 รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับด้านสถานภาพ จานวน 2 รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับด้านการศึกษา จานวน 4 รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับด้านอาชีพ จานวน 6 รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับด้านรายได้ จานวน 3 รายการ เปรียบเทียบระดับการรับรู้โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จาแนกตามด้านเพศ ด้านสถานภาพ ด้านการศึกษา และรายได้ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เปรียบเทียบระดับการรับรู้โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จาแนกตามด้านอายุ พบว่า ภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการกากับดูแลกิจการที่ดี ด้านความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เปรียบเทียบระดับการรับรู้โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จาแนกตามด้านอาชีพ พบว่า ภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการกากับดูแลกิจการที่ดี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

1. กุลนัดดา สุวรรณศรี. (2551). ความรับผิดชอบต่อสังคมของ องค์กรที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าตราสินค้า “ฮอนด้า“ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

2. เบญจมาพร เจริญศรี. (2550). การตอบสนองของเจเนเรชั่นวายต่องานการตลาดเพื่อสังคม. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

3. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

4. รัตนา รัตนะ. (2551). ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย: กรณีศึกษาโครงการกรุงไทยยุววาณิช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5. แรมใจ พันธ์เพ็ง. (2552). รูปแบบ กลยุทธ์ และแนวทาง ในการใช้พื้นที่สื่อหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเพื่อนาเสนอกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

6. ธรรมพร โพธิ์มั่น. (2553). พฤติกรรมการบริโภค และ ทัศนคติมุ่งรับผิดชอบต่อสังคมที่มีภาพลักษณ์ องค์กรภาพรวม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

7. สถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังเพื่อความยั่งยืนขององค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.

8. สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2551). เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.

9. Aaker, David A. (2011). Managing Brand Equity. London : The Free press.

10. Michael E. Porter ; & Mark R. Kramer (2013). Strategy and Society The link between Competitive Advantage and Corporate Social Responsibility. Harvard Business Review.

11. Philip Kotler and Nancy Lee. 2014. Corperate Social Responsibility. New Jersey : John Wiely&Sons,366.

Downloads

Published

2016-01-05

How to Cite

บุตอัง บ., กล่าสนอง ป., & วรรธนโกมล ส. (2016). 3.การดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน. Journal of Innovation and Management, 1(-), 23–31. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/223290

Issue

Section

Academic Articles