โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน: กรณีศึกษาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในภาคใต้
คำสำคัญ:
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ความร่วมมือ, การจัดการน้ำท่วมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาองค์ประกอบและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ประสบภัยน้ำท่วม รวม 75 คน และการสนทนากลุ่ม กับคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 50 คน โดยกลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จากพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ดำเนินการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผู้บริหาร สมาชิกสภาและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 400 คน จาก 7 จังหวัดในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในภาคใต้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการศึกษา พบว่า
1. องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการจัดการน้ำท่วม 2) ภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น 3) ความสัมพันธ์ทางสังคม 4) กระบวนการเรียนรู้ 5) การติดต่อสื่อสาร และ 6) ความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วม
2. โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ที่ดี โดยได้ค่า c2 = 8.62 (df = 4, p = .071) CFI = 1.00, RMSEA = 0.054, GFI = 0.99, AGFI = 0.96, และ SRMR = 0.022
3. กระบวนการจัดการน้ำท่วม และกระบวนการเรียนรู้ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วม ด้วยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.42 และ 0.31 ตามลำดับ
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก