ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยผลจากสถานการณ์กับปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlapsu.2021.11คำสำคัญ:
ปัจจัยทางด้านส่วนบุคคล, ปัจจัยผลจากสถานการณ์, ปัญหาสุขภาพจิต, ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยผลจากสถานการณ์กับปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบประเมินผลกระทบทางจิตใจหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ – 10 (PISCES-10) มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 728 คน และวิเคราะห์หา Bivariate analysis ด้วยการวิเคราะห์ไคสแควร์ (Chi-square) โดยใช้โปรแกรมอาร์ (R Program) พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีทั้งหมด 6 ตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ เขตพื้นที่ การได้รับบาดเจ็บ การเสียชีวิตของญาติ และการเป็นญาติผู้บาดเจ็บ โดยที่เพศและการเสียชีวิตของญาติของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 อายุ และการเป็นญาติผู้บาดเจ็บมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เขตพื้นที่และการได้รับบาดเจ็บมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากตัวแปรทั้งหมด 6 ตัวแปรนี้ที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิต แสดงให้เห็นได้ว่าตัวแปรทั้งหมดนี้ คือ ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
References
American Psychological Association. (2014). The Road to Resilience. UNCEW. https://studentsuccess.unc.edu/files/2015/08/The-Road-to-Resiliency.pdf
Chokdamrongsuknai, J., Kittitharaphan, W., & Bunsang, W. (Editor). (2015). Collection of academic articles at the 14th International Mental Health Symposium and the 12th International Mental Health and Psychiatry Symposium. Bureau of Mental Health Service Administration, Department of Mental Health. [in Thai]
Chongrak, D., & Parinyapol, P. (2019). Influence of resilience, coping strategies, and education on the mental health of paramilitary rangers serving in the southern border unrest. Hat Yai Academic Journal. 17(1), 33-47. [in Thai]
Goldberg, D. P. (1972). The detection of Psychiatric illness by questionnaire. Oxford University Press.
Grotberg, E. H. (1995). The International Resilience Project: Research and Application. (Reports-Research). Civitan International Research Center. https://files.eric.ed. gov/fulltext/ED423955.pdf
Jinpanyakul, J., & Puttisri, S. (2018). Factors affecting relationship to quality of life of high school students in the unrest situation in Narathiwat Province. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 63(1), 21-32. [in Thai]
Kaewnui, S. (2017, April 5). Events in the southern border provinces/Patani in 2016: the timing of the transition from “armed combat” to “peaceful means”. Deep South Watch. http://www.deepsouth watch.org/node/10037 [in Thai]
Office of the National Security Council, Office of the Prime Minister. (2017). Management and development policy of the southern border provinces 2017-2019. Printing House of Chulalongkorn University. [in Thai]
Poolsub, A. (2019). Modern warfare concept: violence and mental health situation of people in the southern border provinces. Songklanakarin Journal. 25(1), 159-181. [in Thai]
World Health Organization (2017). Mental Health Promotion, Concepts, Evidence, and Practice Guidelines (Summary Report). Wanida Printing. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 Furqan Awaekachi, Sumet Promin, Kasetchai Laeheem

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก