ลักษณะเด่นของแบบเรียนบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยที่เชื่อมโยงกับบริบทท้องถิ่นสำหรับระดับประถมศึกษาตอนต้น ที่สร้างโดยครู ในสามจังหวัดชายแดนใต้
คำสำคัญ:
ระดับประถมศึกษาตอนต้น, แบบเรียนบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย, สามจังหวัดชายแดนใต้บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเด่น 4 ด้านของแบบเรียนบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในด้าน 1) เนื้อเรื่องของแบบเรียนที่ครูกับนักเรียนเชื่อมโยงกันได้ด้วยบริบทท้องถิ่น 3 จังหวัดชายแดนใต้ 2) ครูอุดมศึกษาทำหน้าที่พี่เลี้ยง 3) การเน้นคำศัพท์และภาพ 4) โครงสร้างหมวดหมู่เนื้อหา การวิเคราะห์แบบเรียนเฉพาะกิจนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการปฏิบัติการ อภิปรายผลแบบพรรณาวิเคราะห์อย่างอิงแนวคิดการพิจารณาแบบเรียนเฉพาะกิจ
ผลวิจัยพบว่า แบบเรียนเฉพาะกิจข้างต้น มีลักษณะเด่น ดังนี้ 1) ผู้สร้างแบบเรียนและผู้เรียนอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เหมือนกัน สถานะคนใน ส่งผลให้ครูสอนได้อย่างตรงประเด็นและเข้าใจเงื่อนไขที่ผู้เรียนจำนวนมากใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ภาษาแม่คือมลายูถิ่นปาตานี 2) การมีอาจารย์ระดับอุดมศึกษาในพื้นที่เดียวกันเป็นพี่เลี้ยงช่วยสอนจิตวิทยาการศึกษา ให้ความรู้ภาษาไทยและชี้แนะแนวคิดการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง ช่วยให้ครูใช้บริบทท้องถิ่นผูกเรื่องราวของแบบฝึกอ่าน และสร้างประโยคด้วยคลังคำพื้นฐานอย่างเชื่อมโยงกับประสบการณ์ตรงของผู้เรียน 3) นอกจากความสุขที่ได้เรียนเรื่องในชีวิตประจำวัน การเน้นคำศัพท์ที่มักอ่านผิด เขียนผิด และใช้ภาพสวยงามคู่คำศัพท์ จุดเด่นเหล่านี้มีผลต่อการจดจำภาษาไทยที่เรียน 4) โครงสร้างและการจัดหมวดหมู่เนื้อหาแต่ละระดับชั้น ต่างกันตามหน่วยการเรียนรู้ที่กระทรวง ศึกษาธิการกำหนด แต่แบบเรียนเฉพาะกิจมีจุดเด่นที่ใช้บริบทชุมชนเป็นฉากสำคัญให้นักเรียนได้อ่าน ได้เขียน เรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยอย่างรู้สึกใกล้ชิดกับวิถีชีวิตท้องถิ่นชายแดนใต้ จุดเด่นทั้งหมดนี้ช่วยสร้างประสิทธิภาพการเรียนภาษาไทยให้นักเรียนประถมต้นใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
References
Jankaew, R., Chomchuen, A., & Numun, W. (2016). Effects of learning activities using graphic organizer techniques on critical thinking, learning achievement and retention in thai literature of grade 7 students. Journal of Education Prince of Songkla University, 27(2), 165-178. [in Thai]
Jansawang, C. (2007). A comparison of learning achievement and retention of students using Malay dialectas the mother tongue by computer-assisted instruction with thai narration and bilingual narration [Unpublished master’s thesis]. Prince of Songkla University, Pattani Campus. [in Thai]
Lower Southern Office of the Higher Education and Commission Higher Education Development Network: Songkhla. (2019). Prathomsuksa 1: Basic vocabulary list. [in Thai]
Nilsuk, P. & Phetmanee, N. (2010). Media and education technology for developing education. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 21(3), 107-118. [in Thai]
Office of the Higher Education CommissionLower Southern Higher Education Development Network: Songkhla. (2019). Prathomsuksa 2: Basic vocabulary list. [in Thai]
Petcharaporn, K. (2018). Learning native language and second language. Psychology for Teachers. http:///C:/Users/LA/Downloads/Documents/_6_.pdf [in Thai]
Watcharasukum, S. (2012). Problems in using Thai language from Thai - Malaya students in three southernmost provinces. http://wb.yru.ac.th/handle/yru/182 [in Thai]
Yousimarak, C. (2010, August 19). Research can solve education’s problems in southern border provinces. Daily News. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก