จิตสำนึกเชิงนิเวศใน “คัมภีร์ขุนเขาและทะเล”
คำสำคัญ:
จิตสำนึกเชิงนิเวศ, ความสมานฉันท์, “คัมภีร์ขุนเขาและทะเล”บทคัดย่อ
“คัมภีร์ขุนเขาและทะเล” เป็นหนังสือที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูเขาและแม่น้ำสายสำคัญของจีน ตลอดจนเทพนิยายและเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์พิสดารจำนวนมาก ส่วนแรกของหนังสือเล่มนี้คาดว่าแต่งขึ้นในราวสมัยราชวงศ์ฉิน และสองส่วนหลังแต่งขึ้นในยุคต้นราชวงศ์ฮั่น นักวิชาการในสมัยราชวงศ์ฮั่นได้ค้นคว้าวิจัยและสรุปว่าเนื้อหาในหนังสือ “คัมภีร์ขุนเขาและทะเล” ตรงตามความเป็นจริงหลายประการ โดยเฉพาะตำแหน่งที่ตั้งของภูเขาและแม่น้ำหลายแห่งที่ระบุไว้ในหนังสือเล่มนี้มีอยู่จริง และมีข้อมูลน่าเชื่อถือ ต่อมานักวิชาการในสมัยราชวงศ์หมิงถึงราชวงศ์ชิง ให้ความเห็นว่า “คัมภีร์ขุนเขาและทะเล” เป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นเหมือนนิยายเล่มหนึ่ง ไม่มีความจริงแต่อย่างใด เมื่อวงการวิชาการจีนได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของตะวันตก ทำให้การตีความวรรณกรรมจีนเล่มนี้หลากหลายยิ่งขึ้น
บทความนี้จึงได้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่สะท้อนออกมาใน “คัมภีร์ขุนเขาและทะเล” โดยใช้แนวคิดวรรณคดีวิจารณ์เชิงนิเวศและหลักปรัชญาจีน ซึ่งถือว่าเป็นงานศึกษาแนวสหวิทยาการ กล่าวคือนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และด้านมนุษยศาสตร์มาอธิบายและตีความตัวบทวรรณกรรม และพบว่า “คัมภีร์ขุนเขาและทะเล” ได้สะท้อนแนวคิดเรื่องความกลมกลืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมจีนและปรัชญาจีนในยุคต่อมา
References
Branch, M. P. (2018, September 20). Defining ecocritical theory and practise. http://www.asle.ort/wp-content/uploads/ASLE_Primer DefiningEcocrit.pdf
Cokinos, C. (2018, September 27). What is ecocritism. http://www.asle.org/wp-content/uploads/ASLE_Primer_ DefiningEcocrit.pdf
Fan, Y. L. (2015). The image and cultural implication of human bird God in the The Classic of the Great Wilderness. Lantai Shijie, 2015(3), 45-46. [in Chinese]
Fan, Y. Y. (2017). The images of gods and beats in “The Classic of Mountains and Seas”. Journal of Changchun Education Institute, 33(9), 12-17. [in Chinese]
Jia, L. X. (2018). Mythological factors in Tang Chuanqi: From The Classic of the Great Wilderness to Tang Chuanqi. Literature Study, 2018(6), 20-24. [in Chinese]
Jing, W. X. (2011). The Classic of Great Wildness and the primitive religious beliefs [Unpublishes Master’s Thesis]. Sichuan Normal University. [in Chinese]
Liu, Q. H. (2012). Ecological literature. The University of Renmin Press. [in Chinese]
Meng, P. Y. (2004). Man and nature; The ecological view of Chinese philosophy. The University of Renmin Press. [in Chinese]
Newman, L. (2018, September 29). Marxism and ecocriticism. https://www.academia.edu/4234056/Marxism_and_ecocritism
Sangkapanthanonth, T. (2013). Ecocritism in Thai literature. Nakhon Press. [in Thai]
Wang, B,.& Du, Y. (2012). A preliminary study of the original religious belief of The Classic of the Shan Hai Jing. Journal of Dalian Marintime University, 11(4), 118-121. [in Chinese]
Wang, S. D. (2008). Ecological consciousness and contemporary Chinese literature. Chinese Academy of Social Sciences Press. [in Chinese]
Xu, J. L. (2014). The ecological criticism from the perspective of Shan Hai Jing Research [Unpublishes Master’s Thesis]. Chongqing University. [in Chinese]
Xu, K. (2013). Shan Hai Jing. Xi’an. Normal University Press. [in Chinese]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก