การบริหารทรัพยากรมนุษย์กับหลักอิทธิบาท 4

ผู้แต่ง

  • พิชิต อวิรุทธพาณิชย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ประเทศไทย
  • พระครูพิพิธสุตาทร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ประเทศไทย
  • พระครูสุนทรสังฆพินิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์, หลักอิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

            บทความฉบับนี้เขียนขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวความคิดทางตะวันตก และ 2) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยผู้ศึกษาใช้วิธีการศึกษาวิจัยจากเอกสารได้แก่ หนังสือหรือตำรา และวิทยานิพนธ์ การศึกษาพบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดตะวันตกเป็นกระบวนการที่ผู้บริหาร ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับบุคลากรขององค์กรร่วมกันใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสรรหา การคัดเลือก และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้เข้าปฏิบัติงานในองค์กร พร้อมทั้งดำเนินการธำรงรักษาและพัฒนาให้บุคลากรขององค์กรมีศักยภาพที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานและมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่เหมาะสม เป็นต้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 3 หลักการ คือ 1) หลักการครองตนคือ การมีความประพฤติและการปฏิบัติส่วนตน 2) หลักการครองคนคือ การมีความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นและ 3) หลักการครองงานคือ การมีความสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมายอย่างดี โดยหลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ 1) ฉันทะ ความพอใจ รักใคร่ในสิ่งนั้น 2) วิริยะ ความเพียรพยายาม หมั่นปฏิบัติธรรม ฝึกฝนอบรมตนตามหลักธรรม 3) จิตตะ เอาใจฝักใฝ่สนใจในการปฏิบัตินั้น ๆ โดยไม่ทอดธุระ 4) วิมังสา การไตร่ตรองพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้น เป็นอาการของปัญญาที่เข้าไปในลักษณะใคร่ครวญ พิจารณาก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิดทุกสิ่งทุกอย่าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนาจึงต้องประกอบไปด้วยการฝึกฝนอบรมศีล สมาธิ และปัญญาอย่างสอดคล้องกัน ผ่านการพัฒนา 4 ด้านคือ ทางกาย ทางศีล ทางจิตใจ และทางปัญญา

References

Klinrat, B. (2003). Human resource management. (2nded.). Faculty of Management Science, Rajabhat Institute Chiang Mai. [in thai]

Decenzo, D.A., & Robbins, S.P. (2002). Human resource management. (7th ed.). John Wiley & Sons.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Tripitaka (Thai) Mahachulalongkornraja-vidyalaya University Issue (Book 10th, 22th, 30th). Mahachulalongkornrajavid- yalaya University. [in thai]

Khechonnan, N. (2002). Human resource management. Se-Education Co., Ltd. [in thai]

Phra Dhampitaka (Prayudh). (2003). Buddhism. (10thed.). Sahadhammixed Printing Co., Ltd. [in thai]

Phra Thanat Wattano. (2009). an Analysis of leadership qualities based on the Sevenfold Sappurisadhamma [Unpublished master’s thesis]. Mahachula-longkornrajavidyalaya University. [in thai]

Sriwichai, S. (2007). The educational administration based on buddhist principle [master’s thesis, Mahachulalong –kornrajavidyalaya University]. Mahachulalong-kornrajavidyalaya University. [in thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

How to Cite

อวิรุทธพาณิชย์ พ., พระครูพิพิธสุตาทร, & พระครูสุนทรสังฆพินิต. (2020). การบริหารทรัพยากรมนุษย์กับหลักอิทธิบาท 4. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(1), 25–40. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/244487