ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสงขลา และแนวทางในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1,244 คน และประชุมระดมสมองกับนักวิชาการที่ทำงานด้านเพศในวัยรุ่น ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการทดสอบไควสแควร์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียน ได้แก่ ด้านการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร นักเรียนเคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 14.60 โดยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 10 - 18 ปี ด้านการไม่ใช้ถุงยางอนามัย นักเรียนไม่ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ร้อยละ 37.78 และด้านพฤติกรรมการมีคู่นอนหลายคน นักเรียนร้อยละ 41.67 เคยมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนมากกว่า 1 คน สภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ ทัศนคติทางเพศของนักเรียน อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน ความคิดเห็นต่อการบริโภคสื่อ การรับรู้การกำกับดูแลของพ่อแม่ สถานบันเทิง แหล่งบริการทางเพศ และแหล่งมั่วสุมยาเสพติดในชุมชน สำหรับแนวทางในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนได้แก่ การให้นักเรียนเห็นคุณค่าในตนเอง การมีเป้าหมายชีวิต
การพัฒนาเยาวชนเชิงบวก โดยร่วมมือกันทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และภาคประชาสังคม จึงมีข้อเสนอแนะคือการปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียน การเลือกคบเพื่อน ตลอดจนการดูแลและความใกล้ชิดของครอบครัว
References
Ankampung, C. (2009). Premature pregnancy of female Teenagers in a Subdistrict Nakornratsrima Province. Thesis in Master’s Degree of Public Health and Community Health Development, Ratchapat Nakornratsrima University. [in Thai]
Anthony L. Burrow, Rachel Summer and Melanie Netter. (2014). Purpose in Adolescence. Retrieved from www.actforyouth.net.
Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Baptiste R.D., Tolou-Shams M., Miller R.S., Mcbride K.C., and Paikoff, L.R. (2007). Determinants of Parental Monitoring and Preadolescent Sexual Risk Situations among African Families Living in Urban Public Housing. Journal of Child Family Study. 2007, 16, 261-274. [in Thai]
Butcharoen, W., Pitchayapinyo, P., & Powwattana, A. (2012). Factors related to sexual risk behaviors among secondary school students. Journal of Public Health, 42(1), 30-40
Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Public Health Ministry. (2015). Statistics on Adolescent Births Thailand 2015. Bangkok: Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Public Health Ministry. [in Thai]
Chamratrithirong, A, S. Kittisuksathit, C. Podhisita, P. Isarabhakdi and M. Sabaiying. (2007). National Sexual Behavior Survey of Thailand 2006. NakhonPathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. [in Thai]
(2016). Number of students in 1th Semester, year 2016. Retrieved from http://www.sea16.go.th/home/userfiles/data59.pdf. [in Thai]
Hengchumrat, Y., Cheingchlad, K., Pirom, C., Jantrakul, S., Lertprasertsiri, P., and Yamubon, L. (2013). Sexual risk behaviors surveillance of youth in educational institution, Samutsakorn Province. Academic Journal Institute of Physical Education, 5(3), 1-16. [in Thai]
Huebner AJ, Howell LW. Examining the relationship between adolescent sexual risk-taking and perceptions of monitoring, communication, and parenting styles. Journal of Adolescent Health. 2003, 33(2), 71-78.
Janam, S. (1997). Development Psychology. 4th edited. Bangkok: Thaiwatanapanich.The Secondary Educational Service Area Office
Meesin, R., & Mee U don, F. (2009). Adolescence’s unwanted pregnancies “causes and results” A case study of rural areas in Khon Kaen Province. 2 th National Academic Conference Ratchapat Petchaboon University “Research for Local Development” 14 February 2015, Petchaboon: Research and Development Institution, Ratchapat Petchaboon University. [in Thai]
Saimrathonline. (2017). Unwanted Pregnant of Teenage, do not dare to the teacher, out of School. Retrieved from https://siamrath.co.th/n/25732. [in Thai]
Sittipiyasakul, w., Nuwong, P., luksitanon, R., & Yomsan, B. (2013). Opinion and sexual risk behaviors among teenage students in Thailand.Journal of Health Science, , 22(6), 979-987. [in Thai]
Srinaw, W. (2017). Surveillance report on behaviors related to HIV infection among Mathayomsuksa 5 students in Thailand, 2009-2014. Nonthaburi: Public Health Ministry. [in Thai]
Wunnit, P. (2015). Guideline on adapting youth’s prematurely sexual behaviors for sustainable solution in Chorakhemak, Buriram Province. Research and Development Journal Ratchapat Buriram University, 10(1), 78-88. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก