การสืบทอดพิธีกรรมการเล่นลิมนตร์ ในจังหวัดปัตตานี: พลวัตตามสภาวการณ์ปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • Prasit Rattanamanee นักวิจัย สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การสืบทอด, พิธีกรรม, ลิมนตร์, จังหวัดปัตตานี

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่อง “การสืบทอดพิธีกรรมการเล่นลิมนตร์ในจังหวัดปัตตานี: พลวัตตามสภาวการณ์ปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขั้นตอนพิธีกรรม และบริบทสังคมทางวัฒนธรรมการสืบทอดการเล่นลิมนตร์ในจังหวัดปัตตานี เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์ สัมภาษณ์นายโรง จำนวน  3 คน ลูกคู่ จำนวน 10 คน ร่างทรง จำนวน 10 คน คณะเจ้าภาพ จำนวน 5 คน ตัวแทนผู้เข้าร่วมจำนวน 20 คน และประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ 

            คำว่า ลิมนตร์ บางท้องถิ่นเรียกว่า โต๊ะครึม นายมนตร์  โนราทับใหญ่ ส่วนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกว่า “ลิมนตร์” หรือ “นายลิมนตร์” พิธีกรรมการเล่นลิมนตร์มีส่วนคล้ายคลึงกับโนราโรงครูที่มีการเข้าทรง เพื่อบูชาครูหมอตายาย  กรณีที่มีคนเจ็บไข้ได้ป่วย เรื้อรัง เน่าเปื่อย หรือ  เสียสติ ชาวพุทธเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากการลงโทษของตายายที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า “ตายายผีเรียก” พิธีกรรมการเล่นลิมนตร์ของครอบครัวชาวพุทธ มีสาเหตุมาจากสมาชิกในครอบครัวมีอาการเจ็บป่วย รักษาอย่างไรไม่อาจหายขาด การยกโรงเล่นลิมนตร์ประจำปีตามพันธสัญญาระหว่างลูกหลานกับตายายลิมนตร์  และบนบานต่อตายายลิมนตร์เพื่อให้เกิดโชคลาภ

            คณะลิมนตร์มีสมาชิกจำนวน  5 คน มีเครื่องดนตรี คือ ทับ 5 ใบ จะเล่นช่วงเดือน 6 เดือน 7 เดือน 9 และเดือน 11 ใช้เวลาเล่น 2 คืน กับ 3 วัน ตามลำดับขั้นตอนพิธีกรรมการเล่น  ลิมนตร์ คือ พิธีเข้าโรง พิธีไหว้ภูมิเจ้าที่ หรือพิธีไหว้ภูมิโรง พิธีกราบครู พิธีกรรมการเวียนแว่น (กำยาน) พิธีเบิกโรง  พิธีกาศครูหรือกาศโรง พิธีตั้งบอริมัด พิธีการเชื้อเชิญตายายลิมนตร์ พิธีรำเวียนออมน้ำ พิธีอาบน้ำและสระหัวตายาย พิธีตีมะยัง พิธีถวายหมฺรับตายาย และพิธีส่งตายาย

            วัฒนธรรมสืบทอดการเล่นลิมนตร์ ต้องสืบเชื้อสายและสายเลือดมาจากตายายลิมนตร์ตั้งแต่บรรพบุรุษ เพื่อให้ลูกหลานแสดงการกตัญญู การเคารพบูชา ทำให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง สามัคคี มีความสัมพันธ์ด้วยระบบเครือญาติอย่างเหนียวแน่น บรรดาญาติพี่น้องเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมเหมือนได้กลับมาอยู่ใกล้ชิดกับบรรพบุรุษ มีโอกาสได้สอบถามและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสมาชิกในครอบครัว เป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ลูกหลานมีความรู้สึกปลอดภัยและประสบโชคลาภในการดำเนินชีวิต โดยมีตายายลิมนตร์ค่อยช่วยเหลืออยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

            การเล่นลิมนต์จึงมีผลทางจิตใจต่อ “ครอบครัวที่มีตายายลิมนตร์” ต้องมีการสืบทอด  เชื้อสายทางวัฒนธรรมจากรุ่นตายาย สู่รุ่นพ่อแม่ สู่รุ่นลูกหลาน เหลน ต่อเรื่อยไปจนใครไม่สามารถตอบคำถามการสืบทอดทางวัฒนธรรมตายายลิมนตร์ได้ ตราบใดวัฒนธรรมการสืบทอดถูกทอดทิ้ง สมาชิกใหม่ในครอบครัวคนใดคนหนึ่ง ต้องมีอาการเจ็บป่วยโดยไร้สาเหตุ ดังนั้นชุมชนกับการพึ่งพาพิธีกรรม ลิมนตร์ก็คงอยู่คู่กันไป 

References

Chumpengpan, P. (2005), Southern culture, Bangkok: Suriyasan.

Jittam, P. and Pongpaiboon, S. (1999), Limont encyclopeddia of Thai culture, Southern 6, p. 2828, Bangkok: Amarin Printing. [In Thai]

Kaewphim, C. (2011, 21 July). Personal Interview. [In Thai]

Noonin, N. (2003), Belief, health and folk wisdom, memorail arts and cultures, University affairs. 5th, Nakornsrithammarat: Walailak university. [In Thai]

Noothong, U (1999), Encyclopedia of Thai Culture, Southern: 1, p 370, Bangkok: Amarin Printing. [In Thai]

Patkaew, C. (1997), “Nora today and in the future” contributed articles on culture and traditional custom of Southern Thailand Teetadwatthanatam, Bangkok: Amarin printing. [In Thai]

Puthyod, N. (2011, 4 June) Personal Interview. [In Thai]

Santasombat, Y. (1989), Human and Culture. Bangkok: Thammasat University. [In Thai]

Wansiri, N. (2007), Social and cultural anthropology, Bangkok: Tanapress. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

Rattanamanee, P. (2019). การสืบทอดพิธีกรรมการเล่นลิมนตร์ ในจังหวัดปัตตานี: พลวัตตามสภาวการณ์ปัจจุบัน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(2), 154–177. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/232760