การใช้กลวิธีการอ่านภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ผู้แต่ง

  • Leeyana Phanthapongtam นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประเทศไทย
  • Nisakorn Charumanee รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การอ่านภาพ, กลวิธีการอ่านภาพ, ทักษะการอ่าน, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ความสามารถในการคิด

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กลวิธีการอ่านภาพในการส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน กลุ่มทดลองเรียนด้วยกลวิธีการอ่านภาพและกลุ่มควบคุมเรียนด้วยวิธีการสอนการอ่านที่กำหนดในหลักสูตรของโรงเรียน เครื่องมือทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านภาพจำนวน 10 แผน ซึ่งประกอบด้วยบทอ่านและกิจกรรมจำนวน 10 บทเรียน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วยบทอ่าน 2 บท และแบบทดสอบอัตนัยบทละ 12 ข้อ ที่ออกแบบตามทฤษฎีของ Bloom (1956) ซึ่งครอบคลุมระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test

          ผลการวิจัยด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนทดสอบหลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 กล่าวได้ว่ากลวิธีการอ่านภาพสามารถส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ซึ่งสรุปได้ว่ากลวิธีการอ่านภาพส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ดีกว่า  ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนทดสอบเพิ่มขึ้นทุกระดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ในทุกระดับ ยกเว้นระดับที่ 3 (ความสามารถในการนำไปใช้) ที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Alberto et al. (2007). Components of visual literacy: Teaching logos. Focus on Autism and Other Developmental Disabilities, 22(4), 234-243.

Bamford, A. (2003). The visual literacy white paper. Australia: Adobe Systems Pty Ltd.

Bloom, B.S., et al. (1956). Taxonomy of educational objectives handbook I: Cognitive domain. New York: David Mckay Company, Inc.

Buaprasertying, P. (2007). Use of mental imagery strategies to promote English reading comprehension and creative writing ability of English program students. (Master thesis, Chiang Mai University). [in Thai]

Carry, D. (2003). Visual literacy: Using images to increase comprehension. Retrieved March 1, 2017, from https://readingrecovery.org/images/pdfs/Conferences/NC09/.

HandoutsChotwattanachai, R., Viboonrungsan, S., & Prachanban, P. (2015). The development of instructional packages through DR-TA teaching strategy to promote concept in English reading for Matthayomsuksa 4 students. Journal of Education Naresuan University, 135-145. [in Thai]

Krashen, S. D. (1982). Principles and practice in second language acquisition. New York: Prentice Hall.

Mongkonsing, K. (2005). Use of mind-mapping to enhance English writing skills of Prathom Suksa 5 students. (Independent Study, Chiang Mai University). [in Thai]

Northridge, K. (2014). Measure critical thinking skills. Retrieved February 1, 2017, from https://www.ehow.com/how_5864397_measure-critical-thinking-skills.html.

O-manee, A., & Charumanee, N. (2016). The use of extensive reading activities to develop English reading competency and critical thinking ability. Journal of Liberal Arts Prince of Sonkla University Hat Yai, 8(2), 104-131. [in Thai]

Pettersson, R. (1989). Visual for information. New Jersey Educational Technology Publications.

Raynolds, A. (1994). The global learning organization. New York: Irwin.

Sangkom, P. (2006). Visual literacy activities and practice. Retrieved March 1, 2017, from www.drsangkom.com. [in Thai]

Seenuan, T., Phonyotin, P., Sangprateeptong, V., and Tulananda, O. (2018).

A development of an instructional model to develop early childhood critical thinking through reflective teaching and documentation.Journal of Education Naresuan University, 20, 61-74. [in Thai]

Su-ya-ai, K. (2009). Using Visual Thinking Techniques to Promote English Reading and Creative Writing Abilities of Undergraduate Students. (Master thesis, Chiang Mai University). [in Thai]

Walsh, M. (2003). ‘Reading’ pictures: what do they reveal? Young children’s reading of visual texts. Reading, 3, 123-130.

Wright, A. (1989). Pictures for language learning. Cambridge University Press.

Yenawine, P. (1997). Thoughts on visual literacy. Retrieved March 1, 2017, from https://vtshome.org/wp-content/uploads/2016/08/12Thoughts-On-Visual-Literacy.pdf.

Yi, C. P., & Yi, C. P. (2009). The effects of pictures on the reading comprehension of low-proficiency Taiwanese English foreign language college students: An action research study. VNU Journal of Science, 25, 186-198.

Zambo, D. M. (2009). Using visual literacy to help adolescents understand how images influence their lives.Teaching exceptional children, 41(6), 60-67. Ennis, R.H. (1985). A Logical Basis for Measuring Critical Thinking Skill. Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

Phanthapongtam, L., & Charumanee, N. (2019). การใช้กลวิธีการอ่านภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(2), 44–67. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/232651