“เมื่อผืนทะเลหดแคบ ผืนชีวิตจึงหดสั้น” : กลวิธีทางภาษากับการนำเสนอภาพแทนของชาวเลในวาทกรรมหนังสือพิมพ์รายวันไทย
คำสำคัญ:
วาทกรรม, ภาพแทน, ชาวเลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มุ่งศึกษาประเภทข่าวในวาทกรรมหนังสือพิมพ์รายวันไทย (ออนไลน์) ที่นำเสนอเรื่องราวของชาวเล กลวิธีทางภาษาที่วาทกรรมหนังสือพิมพ์รายวันไทย (ออนไลน์) ใช้ในการประกอบสร้างภาพแทนชาวเล และภาพแทนของชาวเลที่นำเสนอผ่านวาทกรรมหนังสือพิมพ์รายวันไทย (ออนไลน์) ข้อมูล ที่ศึกษาประกอบด้วยหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย (ออนไลน์) 10 ชื่อฉบับ จำนวนทั้งสิ้น 70 ข่าว ผลการศึกษาพบว่า ประเภทข่าวที่นำเสนอเรื่องราวของชาวเลมากที่สุด คือ ข่าวสังคม-วัฒนธรรม รองลงมาเป็นข่าวการเมือง ข่าวการศึกษา และข่าวสาธารณสุขตามลำดับ วาทกรรมหนังสือพิมพ์รายวันไทย (ออนไลน์) ประกอบสร้างภาพแทนผ่านกลวิธีทางภาษา 4 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์ การใช้ประโยคกรรม การใช้วัจนกรรมและการใช้อุปลักษณ์ กลวิธีทางภาษาในวาทกรรมหนังสือพิมพ์รายวันไทย (ออนไลน์) ใช้เพื่อนำเสนอภาพแทนของชาวเล ได้แก่ 1) ชาวเลเป็น “คนอื่น” ที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ 2) ชาวเลเป็นผู้มีชีวิตแบบ (กึ่ง) เร่ร่อน 3) ชาวเลเป็นผู้ถูกจัดการ กีดกันและรุกไล่ ทำให้ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และ 4) ชาวเลเป็นผู้ที่ต้องได้รับการช่วยเหลือดูแล แก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิต
References
Arunotai, N. (2003). For understanding the Moken Knowledge and myths about "Chao Lay" ethnic groups, Ethnicity and myth. Bangkok: Organization of Transfer Products and Packging. [in Thai]
Charoensin-o-larn, Ch. (1999). Development Discourse Power Knowledge truth Identity and Otherness. Bangkok: Research and Development Center, Krirk University. [in Thai]
Chotiudompant, S. (2008). Discourse, representation, identity, literary studies in social and cultural contexts 2. http://www. phdlitarts.chula. ac.th.
Chumchonthai (2012). Gypsy Way Crisis. Bangkok: n.p. [in Thai]
Eamanondh, J. (2006). A study of discourse about people with HIV/AIDS in Thai society using the Nexus Analysis approach. (doctoral dissertation), Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]
Fairclough, N. (1995). Analysing discourse: textual analysis for social research. London: Longman.
Hall, S. (1997). Representation: cultural representation and signifying practices. London: Sage.
Hongladarom, Kr. (2000). Discourses on ethnic minorities in Thailand: a study of the relationship between form and meaning, Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Kaewthep, K. (2002). Media and Culture Studies and Thai Society. Political Science Journal, 23 (3), 51-59. [in Thai]
Katanchaleekul, S. (2005). Chao Lay "The Cursed Identity", Lua eats people-Chao Lay-Ghost ancestors. Bangkok: Sirindhorn Anthropology Center. [in Thai]
Office of the Royal Society. (2013). Royal Institute Dictionary 2011.Bangkok: Office of the Royal Society. [in Thai]
Panpothong, N. (2013). Critical Discourse Analysis based on linguistics. Bangkok: Faculty of Arts, Chulalongkorn University. [in Thai]
Pongudom, R. (2005). The relationship between language and values on beauty: A study of advertising discourse on cosmetics in Thai. (Master’s thesis), Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]
Silapasan, U, Phraya. (2005). Thai language principles. Bangkok: Thai Watana Panich. [in Thai]
Sirindhorn Anthropology Center. (2014). Gypsy culture skills Hundred stories. Bangkok: Parbpim. [in Thai]
Social Research Institute. (2019, October 10). Urak Lawoi, Moklen and Moken, experts on the sea of islands and the Andaman coast. http://www. chulapedia. chula. ac.th/index.php?
Suriya, Th. (2011). The relationship between language and representations of deathrow inmates and executions in Thai newspapers. (master’s thesis), Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]
Van Dijk, T. A. (2008). Discourse and Power. New York: Palgrave Macmillan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก