วัฒนธรรมทางการเมืองหลักของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมทางการเมือง, วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย, วัฒนธรรมแบบพลเมืองบทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า สังคมใดสังคมหนึ่งจะเป็นประชาธิปไตยที่คงทนถาวรหรือไม่นั้น ต้องดูว่าสังคมนั้นมีการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยได้มากน้อยเพียงใด มักมีการเข้าใจผิดอยู่เสมอว่าเมื่อมีสถาบันทางการเมืองแบบประชาธิปไตยและมีการเลือกตั้งอย่างอิสระ และมีความยุติธรรมก็หมายถึงว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ขณะที่วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเป็นรากฐานสำคัญของระบบการเมืองการปกครอง และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อต้องการค้นหาวัฒนธรรมทางการเมืองหลักหรือที่มีลักษณะเด่นในชุมชนท้องถิ่นของภาคอีสาน ใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพทำการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่เป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมการเมืองหลักที่มีลักษณะเด่นในชุมชนจำแนกได้ 3 ประเภท คือ 1) กลุ่มคนที่วัฒนธรรมทางการเมืองแบบเฉยเมย (apathy) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของคนส่วนใหญ่ที่อยู่นิ่งเฉย ขาดความกระตือรือร้น ไม่สนใจและไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาและเหตุการณ์บ้านเมือง 2) กลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมการเมืองแบบแยกตัวออกห่าง ชอบเก็บตัว และไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น (detached and aloof) อันเป็นลักษณะของกลุ่มคนที่มีความโน้มเอียงไปในทางแยกตัวออกห่าง ชอบเก็บตัว ไม่มีความผูกพันหรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมส่วนรวมของชุมชนและเพื่อนบ้าน และ 3) กลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (participants) ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะคนบางกลุ่มในชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้ใช้แรงงานบางส่วน ที่รวมกลุ่มกันเรียกร้องผลประโยชน์ของตนเอง ขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลุ่มการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ถ้าจะสร้างสังคมไทยให้เป็นประชาธิปไตยต้องสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยเสียก่อน
References
Huntington, S. P. (1969). Political order in changing societies. (2nd ed.). Connecticut: Yale University Press.
Lasswell, H. D. and Kaplan, A. (1950). Power and society: A framework for political inquiry. New York: University Press.
Macedo, S. (2002). Liberal virtues: citizenship, virtue, and community in liberal constitutionalism. Oxford: Clarendon Press.
Nash, K. (2010). Contemporary political sociology: Globalization politics and power. (2nd ed.). Oxford: Wiley – Blackwell.
Promgird, P. (2013). Political sociology. (2nd ed.). Khon Kaen: Khon Kaen University Printing. [in Thai]
Promgird, P. (2014i). People’s political culture and the development of democracy. Royal Thai Navy Academy Journal, (Auspicious Issue), 83 - 91.
Promgird, P. (2014ii). Development of democracy and democratic political culture. Rattasapasarn Journal, 62 (7), pp. 9 - 44.
Rujanaseree, P. (2008). Culture revolution. Bangkok: Prachamati Party. [in Thai]
Chumpol, P. (1995). The study of political culture in Thai society and the sustention of democracy: Some considerations. Social Sciences Journal, 28(2), 15-30. [in Thai]
Pye, L. W. (2000). Democracy and its enemies. in James F. Holifield & Calvin Jillson. (Eds). Pathway to democracy: The political economy of democratic Transitions. New York: Routledge.
Nakata, T. (2000). Democracy. (2nd ed.). Bangkok: Sahai Black and Printing. [in Thai]
Nakata, T. (2003). New generation’s political culture. Bangkok: Sahai Black and Printing. [in Thai]
Sirikrai, S. (2007). Development of democracy without political cultural and moral change. In seminar supplemental document on “Political Culture, Morality, and Governance”. 8 – 10 November 2007 at United Nation Convention Center, Bangkok. (pp. 87-124). Bangkok: King Prajadhipok's Institute. [in Thai]
Tanasatit, U. (2016). Democratic political culture. Retrieved on 25th April, 2016, from: http://kpi.ac.th/media/pdf/M7_158.pdf. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก