แนวทางการพัฒนาบ้านศิลปินแห่งชาติให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ศรีสุคล พรมโส สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ซิสิกกา วรรณจันทร์ คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, บ้านศิลปินแห่งชาติ, แหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของบ้านศิลปินแห่งชาติที่เข้าร่วมโครงการเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาบ้านศิลปินแห่งชาติให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยศึกษาจากบ้านศิลปินแห่งชาติที่เข้าร่วมโครงการเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ กับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 2559 ที่มีความพร้อมตามเกณฑ์ที่กำหนด ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัย จำนวน 12 คน ทำการวิเคราะห์โดยนำข้อมูลมาจำแนกหมวดหมู่ ตีความ และสร้างข้อสรุป

               ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปของบ้านศิลปินแห่งชาติสะท้อนถึงตัวตนของศิลปินผ่านรูปแบบผลงานที่จัดแสดง  ทุกหลังจะมีพื้นที่สำหรับให้ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมกิจกรรมทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม  ด้านปัญหาและอุปสรรคที่พบ
ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ บุคลากร การบริหารจัดการ และองค์ความรู้ของศิลปินแห่งชาติ  ส่วนแนวทางการพัฒนา นั้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้บ้านศิลปินแห่งชาติสามารถอยู่ได้ แม้ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบ้านศิลปินแห่งชาติ ให้แก่บุคลากรในบ้าน รวมทั้งขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดเพื่อเชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นที่อยู่ใกล้เคียง  สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชมและสร้างรายได้ให้กับบ้านศิลปิน  และสนับสนุนให้บ้านศิลปินแห่งชาติเป็นแหล่งเรียนรู้นอกชั้นเรียน  เพื่อให้เด็กและเยาวชน ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของบ้านศิลปินแห่งชาติ สืบไป

References

Cultural Promotion Fund Division. (2016). Summary of the project on national artists open house. (1sted.). Bangkok, Department of Cultural Promotion. [In Thai]
Duchanee, D. (2009). “BAANDAM” The historic art museum of the national artist, Thawan Duchanee. (Master’s thesis). Mahidol University, Nakhon Pathom. [In Thai]
Indraprasit, S. (1997). A proposal to establish the historic house of Chit Rienpracha as a museum. (Master’s thesis). Mahidol University, Nakhon Pathom. [In Thai]
Jirathamakul, R. (2007). The development guidelines of creative cultural community based tourism of Ban Ka-nan Community, Thalang District, Phuket Province. Journal of Cultural Approach, 17(31),
3-17. [In Thai]
Khamsa-ard, S. 2010). Developing a models of Isan local artworks museum management. (Doctoral desertation). Mahasarakham University. Mahasarakham. [In Thai]
Korcharoen, M., Kruerpradit, W., Suttibut, S., & Suksawat, K. (2010). Examining working status for composing developmental plan of affiliated cultural learning places of the Office of the National Culture Commission, Ministry of Culture. (Research report). Bangkok: Office of the National Culture Commission.
Plenmalai, A. (2013). The development of a museum for lifelong learning resources: A case study of an archives and a museum of Thai nursing. (Master’s thesis). Silpakorn University, Phetburi. [In Thai]
Tabtim, T. (2013). Management of the historic house museum of Montri Tramod, a national artist. (Master’s thesis). Silpakorn University, Bangkok. [In Thai]
Thimwatbunthonge, S. (2009). Body of knowledge of a national artist: Thawee Ratchaneekorn. Journal of Fine Arts Journal, 21(1), 16-37. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30

How to Cite

พรมโส ศ., & วรรณจันทร์ ซ. (2018). แนวทางการพัฒนาบ้านศิลปินแห่งชาติให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10(1), 149–175. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/132042