การตลาดแบบไร้รอยต่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า กรณีศึกษา BMP FRESH SHOP
คำสำคัญ:
การตลาดแบบไร้รอยต่อทุกช่องทาง , การตัดสินใจซื้อ , ร้าน BMP FRESH SHOPบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการตลาดแบบไร้รอยต่อ และการตัดสินใจซื้อสินค้า BMP FRESH SHOP และ 2) เพื่อศึกษาการตลาดแบบไร้รอยต่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า BMP FRESH SHOP เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ลูกค้าทั่วไป หรือลูกค้าประจำที่เคยซื้อสินค้า หรือใช้บริการร้าน BMP FRESH SHOP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 385 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของการตลาดแบบไร้รอยต่อ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการเข้าใจพฤติกรรมและความคาดหวังของลูกค้ามากที่สุด รองลงมา คือ การส่งมอบประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และการสร้างความผูกพันกับลูกค้า พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านพฤติกรรรมภายหลังการซื้อมากที่สุด รองลงมา คือ การประเมินผลทางเลือก และการตัดสินใจซื้อ ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ตัวแปรอิสระทุกตัวแปร ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าร้าน BMP FRESH SHOP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อธิบายค่าความผันแปรของการตลาดแบบไร้รอยต่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าร้าน BMP FRESH SHOP ได้ร้อยละ 81.7 (R2 = .817)
References
กรกนก จันทร์ประภาส, เยาวภา ปฐมศิริกุล และบัณฑิต รัตนไตร. (2566). การตัดสินใจทางการตลาดสำหรับการประกอบธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2566). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกสรา กิจศุภสิน. (2564). ปัจจัยของการตลาดแบบไร้รอยต่อ (Omni - Channel Marketing) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นต์สโตร์ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชัชฌาพร กลางโฉม. (2564). การตลาดไร้รอยต่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์จากสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ญานิศา สุวรรณหงษ์. (2566). ปัจจัยการตลาดแบบไร้รอยต่อ Omni Channel Marketing ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากห้างแมคโครในจังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ณภัทร สิงหพงศ์. (2563). การจัดกลุ่มปัจจัยเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของกลยุทธ์ Omnichannel ในธุรกิจค้าปลีก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พีพีทีวีออนไลน์. (2566). สำรวจตลาด "ราคาหมูตกต่ำ" จริงเหรอ. สืบค้น 29 สิงหาคม 2566 จาก https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/198855.
พิษณุ ลาภชัยเจริญกิจ, ภาศิริ เขตปิยรัตน์ และกัลยรัตน์ คำพรม. (2565). การตลาดแบบผสานทุกช่องทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไอทีของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 31-32.
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ. (2566). สถานการณ์สินค้าสุกร และแนวโน้ม ปี 2566. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.swinethailand.com/.
Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing Research (7th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques. New York: London.
Harper, J. (2024). The evolution of the omnichannel experience. Retrieved September 6, 2024, from https://www.kmworld.com/Articles/Editorial/Features/The-evolution-of-the-omnichannel-experience-157432.aspx.
Kotler, P. & Armstrong, G. (1999). Principle of Marketing: United States of America: Prentice-Hall.
Piraya, P. (2023). Examples of famous brands using omnichannel marketing, new era marketing 4.0. Retrieved September 7, 2023, from https://www.oho.chat/blog/brands-omni-channel-marketing-4-0
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง