การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ พลังงานไฟฟ้า ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ , รถยนต์พลังงานไฟฟ้า , การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลกจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ระดับการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการตระหนักถึงความต้องการ ด้านการเสาะแสวงหาข้อมูลด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ ด้านการตัดสินใจซื้อ และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการโฆษณา ด้านการขายโดยพนักงานขาย ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการตลาดทางตรง ด้านการส่งเสริมการขาย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก ได้ร้อยละ 57.90 โดยด้านการโฆษณาส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด รองลงมา ด้านการตลาดทางตรง ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2566). ภาษีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า. สืบค้น 15 กันยายน 2565, จาก https://vrts.dlt.go.th/th/news/50164?embed=true
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำพล ลีไพบูลย์วงศ์. (2560). คุณสมบัติพิเศษของรถยนต์ Eco Car ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของประชากรในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธนดล ชินอรุณมังกร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลระบบไฟฟ้า (EV) (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประจักษ์ วงษ์ศักดา. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปนัดดา สุวรรณสุข. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าแบรนด์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
พัทร์ธากานต์ โสภณเชาว์กุล. (2563). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของรถโดยสารประจำทางขนาดเล็ก (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
ภีมสินี รัตน์อ่อน. (2564). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อเนกประสงค์แบบสปอร์ต (SUV) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
รังสรรค์ สุธีสิริมงคล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม
วนัสพร บุบผาทอง. (2564). การตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภค กรณีศึกษา ผู้ใช้บริการศูนย์บริการโตโยต้านครปฐมผู้จำหน่ายโตโยต้าจำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์ (2559). ยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 185-192.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2556). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มาร์เก็ตติ้งมูฟ.
วรลักษณ์ พงษ์พูล. (2561). กระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของคนทำงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศศิพร บุญชู. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของโครงการบ้านจัดสรร ในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เสรี วงษ์มณฑา. (2558). กระบวนการการบริหารการตลาดและการสื่อสารการตลาด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7(2), 1-13.
กรมการขนส่งทางบก. (2565). สถิติการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประจำปี 2565. สืบค้น 19 กันยายน 2566 จาก https://web.dlt.go.th/statistics/
อติชาติ โรจนกร. (2560). การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฮบริดของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). รองยอง: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. (2010). Consumer Behavior (10th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง