เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวินิจฉัยโรคของใบพริก และวิธีป้องกันเบื้องต้น

ผู้แต่ง

  • พัชรพร มานวม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก
  • คัชรินทร์ ทองฟัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก

คำสำคัญ:

เว็บแอปพลิเคชัน , การวินิฉัย , โรคของใบพริก , วิธีการป้องกัน

บทคัดย่อ

พริก ถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย และมีการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยผลผลิตที่ได้นั้นจะต้องมีคุณภาพ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้ผลผลิตที่ได้เกิดโรคและทำให้ผลผลิตลดลง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวินิจฉัยโรคของใบพริกและวิธีป้องกันเบื้องต้น 2) ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวินิจฉัยโรคของใบพริกและวิธีป้องกันเบื้องต้น มีขั้นตอนในการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) การทำโมเดล Decision Tree 3) การออกแบบและพัฒนาระบบแบบเว็บแอปพลิเคชัน และ 4) การประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอปพลิเคชัน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) การทดสอบโมเดลด้วยวิธีการทดสอบแบบไขว้ J48 Random Tree ด้วยการ Training และ Testing ผลการทดสอบโมเดล J48 มีประสิทธิภาพดีที่สุด และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอปพลิเคชันวินิจฉัยโรคของใบพริกและวิธีการป้องกันเบื้องต้นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (equation=4.33, S.D.=0.60) ซึ่งแอปพลิเคชันใช้งานง่าย สะดวก และเนื้อหาครอบคลุม สามารถอธิบายโรคที่เกิดกับใบของพริกได้ มีประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ที่สนใจ

References

กมล เลิศรัตน์. (2560). การผลิต การปลูก การแปรรูป และการตลาดของพริกและผลิตภัณฑ์พริกในประเทศไทย. สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2152

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). พริก. สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี: กรุงเทพฯ.

กิตติคุณ มีทองจันทร์. (2564). ระบบฐานข้อมูล มีอะไรบ้าง อยากรู้ไหม?. สืบค้น 24 ตุลาคม 2564 จาก https://elsci.ssru.ac.th/kittikhun_me/mod/page/view.php?id=6/.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC).

สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2564 จาก https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29

ณัฐวุฒิ เหล็มเจริญ และวีรพล หมานหยะ. (2564). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับเลือกร้านอาหาร ในเขตป่าพะยอม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ณัฐวดี หงส์บุญมี และพงศ์นรินทร์ ศรรุ่ง. (2561). การประยุกต์ใช้เทคนิคจำแนกข้อมูลแบบต้นไม้ตัดสินใจเพื่อการวินิจฉัยโรคในโคเบื้องต้น บนโทรศัพท์มือถือ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(1), 1-15.

รักถิ่น เหลาหา. (2560). การพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานโดยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล กรณี โรงพยาบาลมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม.

วนัสดา สิริวุฒิชาภิรัชต์, สุนทรียา จอมผักแว่น, รัตนา สีรุ่งนาวารัตน์ และพรทิพย์ เหลียวตระกูล. (2564). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการเลี้ยงโคเนื้อ. วารสารแม่โจ้สารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(2), 1-16.

สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2560). การทำเหมืองข้อมูลเล่ม 1: การค้นหาความรู้จากข้อมูล. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ข้อมูลการส่งออกพริกแห้งปี 2564. สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.oae.go.th/

ศศิธร วุฒิวณิชย์. (2564). โรคของพริก. วารสารเกษตรอภิรมย์, 7(31), 39-43.

วิศรุต สันม่าแอ. (2563). เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พริก. สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.opsmoac.go.th/satun-local_wisdom-files-421591791804

Kayar, D. (2017). The Weka program is used for data analysis using data mining techniques. Retrieved October 24, 2021, from https://www.glurgeek.com/education/howto-weka/

Numkingston, N. (2521). What is a Web Application? And how is it different from the applications we use?. Retrieved November 25, 2021, from https://tips.thaiware.com/1772.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

มานวม พ., & ทองฟัก ค. (2024). เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวินิจฉัยโรคของใบพริก และวิธีป้องกันเบื้องต้น. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(3), 108–127. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/272940