แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนบ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ , ชุมชนบ้านผารังหมี , จังหวัดพิษณุโลกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนบ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ชุมชนบ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาบริบทพื้นที่และผู้ให้ข้อมูลหลักในพื้นที่ ด้วยการใช้แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบบันทึกการสังเกต แบบประเมินศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวตามองค์ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการท่องเที่ยวด้านการท่องเที่ยวมี 10 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ด้านระบบบริหารจัดการท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความมีชื่อเสียงในปัจจุบัน ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ โดยมีศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชน ได้แก่ ควรนำคุณค่าและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวมาพัฒนาให้เป็นสิ่งดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อเป็นเพิ่มทางเลือกด้านการท่องเที่ยวให้กับชุมชนและนักท่องเที่ยว ควรพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบนฐานคุณค่าและศักยภาพของพื้นที่ ควรพัฒนาโฮมสเตย์ของชุมชนให้มีมาตรฐาน และควรให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแก่ชุมชนรวมถึงพัฒนาปรับปรุงช่องทางการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจทั่วไป
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.mots.go.th/news/category/397
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ : คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิต, ธนียา เจติยานุกรกุล และส่งเสริม แสงทอง. (2566). การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ดอยลังกา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(1), 292-302.
เทอดศักดิ์ ศรีสุรพล. (2560). หลักการคู่มือการประเมินและกรณีตัวอย่างการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
นำขวัญ วงศ์ประทุม และดวงศิริ ภูมิวิชชุเวช. (2564). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนตามศาสตร์พระราชา. วารสารศิลปะการจัดการ. 5(2), 299-311.
ประทีป พืชทองหลาง, พิมลพรรณ ปันทะเลิศ, ขิมมเรศ บริสุทธิ์ และกมลรส วรรณพรม. (2561). การจัดการแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของบ้านไร่กองขิง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 10(3), 133-144.
พระครูรัตนสุตาภรณ์ (ธีรเดช โพธิ์ทอง) และพระราชรัตนสุธี (ขวัญรัก เกษรบัว). (2566). การพัฒนาชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(3), 17-33.
เพชรศรี นนทร์ศิริ และชัยรัตน์ เชยสวรรค์. (2562). ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (ตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์). วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 13(1), 1-15.
ภคพร วัฒนดำรงค์. (2566). ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก.วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 51-69
รชพร จันทร์สว่าง, สุธิดา มณีอเนกคุณ, รสิกา อังกูร และทิพวัน ถือคำ. (2565). การท่องเที่ยวอาบป่า ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ในบริบทของประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 17(2), 80-96.
วรพรรณ จันทรากุลศิริ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอายุวัฒนะในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1304-1305.
วารีพร ชูศรี และ วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 205-206.
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2566, จาก https://www.ipthailand.go.th/images/3534/web_01052018/Report_CHU/8_Well-being_06.12.2017_CHU.pdf
สุนันทา คันธานนท์, อัครวัฒน์ จิตหาญ, กฤต เกษตรวัฒนผล, ขจร ทุ่มศร และ ชิดชัย กลิ่นประทุม. (2561). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ชุมชนบ้านยวนสาว สายน้ำคลองพอถาก อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 11 (น.37). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.
สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดพิษณุโลก. (2562). สรุปผลการดำเนินโครงการ“ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพิษณุโลก”. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565. จาก https://phitsanulok.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/38/2019/10/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5.pdf
Anastasios R., (2017). Health, social and tourism policies: which synergies are possible ? Retrieved September 26, 2021, from https://slideplayer.com/slide/13496765/
Dunets, A. N., Yankovskaya, V., Plisova, A. B., Mikhailova, M. V., Vakhrushev, I. B., & Aleshko, R. A. (2020). Health tourism in low mountains: A case study. Entrepreneurship and Sustainability Issues, 7(3), 2213.
Holloway, J. C. (1998). The Business of Tourism (5th ed.). England: Longman.
Jyothis, T. (2016). Health Tourism: Pros and Cons. International Journal of Multidisciplinary Research and Modern Education. Retrieved September 26, 2021, from https://rdmodernresearch.org/wp-content/uploads/2016/06/224.pdf
Kiss, K. (2015). The challenges of developing health tourism in the Balkans. Tourism: An International Interdisciplinary Journal, 63(1), 97-110.
World Tourism Organization (UNWTO). (2022). Exploring Health Tourism Executive Summary. Retrieved October 26, 2022, from https://www.unwto.org/global/publication/exploring-health-tourism-executive-summary
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง