การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนของตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • วชิรวิทย์ กรรณิกา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • รัชนีวรรณ บุญอนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวชุมชน , การสร้างมูลค่าเพิ่ม , อาหารท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลและค้นหาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของอาหารท้องถิ่นประเภทลาบของตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารท้องถิ่นประเภทลาบในการสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประชาชนในตำบลท่าขุนราม จำนวน 10 คน การสนทนากลุ่มและการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารท้องถิ่นตำบลท่าขุนราม จำนวน 8 คน และสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว จำนวน 33 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในรูปค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) อาหารท้องถิ่นประเภทลาบของตำบลท่าขุนรามมี 3 ประเภท ได้แก่ ลาบเหนือ ลาบอีสาน และลาบภาคกลาง ซึ่งลาบแต่ละประเภทมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันดังนี้ ลาบภาคเหนือในการทำจะใช้น้ำพริกลาบเหนือที่ชุมชนตำเอง ลาบอีสานจะใช้ข้าวคั่วเป็นตัวชูรสในการปรุง โดยเป็นข้าวคั่วที่ชุมชนคั่วเอง ส่วนลาบภาคกลางนั้นจะเน้นใช้วัตถุดิบที่ปลูกขึ้นเองในครัวเรือนหรือในชุมชน ปรุงรสชาติเผ็ด เปรี้ยว นำ (2) ผลการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารท้องถิ่นประเภทลาบพบว่า สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารท้องถิ่นตำบลท่าขุนรามมีมติให้นำอาหารท้องถิ่นประเภทลาบ มาพัฒนาเป็นอาหารสูตรใหม่ คือ ไส้กรอก ซึ่งจะได้ไส้กรอก จำนวน 3 สูตร ได้แก่ ไส้กรอกลาบเหนือ ไส้กรอกลาบอีสาน และไส้อั่วสมุนไพร และเมื่อนำอาหารที่พัฒนาขึ้นไปสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่ออาหารท้องถิ่นประเภทลาบที่พัฒนาขึ้นใหม่ของตำบลท่าขุนราม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูตรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ไส้อั่วสมุนไพร รองลงมา คือ ไส้กรอกลาบเหนือ และไส้กรอกลาบอีสาน ตามลำดับ อนึ่งนอกจากนี้ นักท่องเที่ยวได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไส้อั่วสมุนไพร ดังนี้ ไส้อั่วสมุนไพรมีรสชาติอร่อย แต่ควรเพิ่มตะไคร้ ใบมะกรูดเพื่อให้มีกลิ่มหอมสมุนไพรมากขึ้น ไส้กรอกลาบเหนือ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ ไส้กรอกมีรสชาติอร่อย มีกลิ่นหอมสมุนไพรและมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ไส้กรอกลาบอีสาน มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ ควรเพิ่มรสเปรี้ยวและควรปรับกลิ่นของไส้กรอกให้หอมเครื่องเทศ

References

กอบแก้ว นาจพินิจ. (2542). อาหารไทย. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม

กิตติมา ชาญวิชัย และธีรพล ภูรัต (2563). การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัมนาความเป็นตัวตนที่แท้จริงให้กับอาหารท้องถิ่นในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านการเล่าเรื่อง. Journal BEC of Naresuan University, 15(3), 26-37.

เกศณีย์ สัตตรัตนขจร, สนธิญา สุวรรณราช และกาญจนา คุมา (2563). การพัฒนาอาหารท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมเพื่อหนุนเสริมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน, 11(1), 152-173.

นันทสารี สุขโต, เพ็ญสิน ชวนะคุรุ, กถลทิวา โซ่เงิน, จิราพร ชมสวน, นวพงศ์ ตัณฑดิลก, วริศรา แหลมทอง, วัลภา หัตถกิจพาณิชกุล, วีรพล สวรรค์พิทักษ์, สมศิริ วัฒนสิน และโศจิรา ทองตัน. (2558). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ปวีณภัสสร์ คล้ำศิริ. (2547). ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านอาหาร : กรณีศึกษาบ้านเต่านอ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรีชา มุณีศรี, เจษฏา ร่มเย็น, สาวิตรี มุณีศรี และดวงเดือน สงฤทธิ์. (2563). การสร้างอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่นและกลไกส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

พัทธนันท์ ศรีม่วง. (2549). โครงการวิจัยและพัฒนาตำรับชุดอาหารสุขภาพไทย จากท้องถิ่นสู่ครัวโลก กรณีศึกษาอาหารท้องถิ่นไทยภาคเหนือ (ระยะสืบค้น) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

มณีกาญจ เขียวรัตน์, บุรินทร์ ศิริเนตร์, รฐา จันทวารา และสถาพร ยังประยูร. (2564). ศักยภาพอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการท่องเที่ยว เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(3), 191-203.

Chernatony, L. & Harris, F. (1998). Added Value: Its nature, Role and Sustainability. European Journal of Marketing, 12(34), 39-56.

Cohen, E. & Avieli, N. (2004). Food in tourism: Attraction and Impediment. Annals of Tourism Research, 31(4), 755-778.

Dranove, D. & Marciano, S. (2005). Kellogg on strategy. New Jersey: John Wiley & Son.

Gronroos, C. (1996). The Value Concept and Relationship Marketing. European Journal of Marketing, 2(30), 19-30.

Levitt, T. (1980). Marketing Success through Differentiation of anything. Harvard Business Review, 1(2), 83-91.

Naumann, E. (1995). Creating Customer Value: The Part to Sustainable Competitive Advantage. United States of America: Thompson Executive Press.

Nilason, T.H. (1992). Value-Added Marketing: Marketing Management for Superior Results. London: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

กรรณิกา ว., & บุญอนนท์ ร. (2024). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนของตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(3), 89–107. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/272322