การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจงานฝีมือเครื่องเงินจากปัญญาฐานรากสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงบ้านคลองเตย อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ยุชิตา กันหามิ่ง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • รัชนีวรรณ บุญอนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ชลธิชา แสงงาม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ทิพย์หทัย ทองธรรมชาติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

คำสำคัญ:

มูลค่าเพิ่ม, ธุรกิจงานฝีมือเครื่องเงิน , อัตลักษณ์ , เศรษฐกิจสร้างสรรค์ , ปัญญาฐานราก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับและเพิ่มมูลค่าธุรกิจงานฝีมือเครื่องเงินจากปัญญาฐานรากสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงบ้านคลองเตย อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวจำนวน 400 คนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ช่างทำเครื่องเงิน สมาชิกกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินชาวเขาบ้านคลองเตยอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานฝีมือเครื่องเงินจำนวน 28 คน ใช้การสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์รูปแบบผลิตภัณฑ์การมีลวดลายดั้งเดิมที่เลียนแบบมาจากธรรมชาติ สิ่งที่อยู่รอบตัวสิ่ง ของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวัน โดยมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเพื่อต้องการลวดลายใหม่ สร้างความหลาหลายให้กับสินค้าและสะท้อนความเป็นชนเผ่าในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งความคิดเห็นต่อการยกระดับและเพิ่มมูลค่าธุรกิจงานฝีมือเครื่องเงินจากปัญญาฐานรากสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสวยงาม รองลงมา คือ ด้านประโยชน์การนำไปใช้และด้านเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความคุ้มค่า

References

กาญจนากร พันธ์เลิศ, เอกวัตน์ มะสะกล, เสาวลักษณ์ พลดงนอก และพิสุทธิ์ ปรีชาประภากร. (2566). หัตถกรรมไทย ภูมิปัญญาไทย สู่สายตาชาวโลก. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2566, จาก https://thailandhandmadebuu.wordpress.com/category/คุณค่าของงานหัตถกรรมไท/

ฐิติกร พูลภัทรชีวิน. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy). สืบค้น 1 พฤษภาคม 2566, จาก https://thitikornblog.wordpress.com/2012/07/26/151/

ปณิตรา แสนกุลสิริศักดิ์. (2563). เครื่องประดับเงินไทย เจิดจรัสในตลาดโลก. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://infocenter.git.or.th/business-info/business-info-20200717

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). วาทกรรมอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2557). ภูมิปัญญาเครื่องประดับเงิน: ปัญหาด้านรูปแบบในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 1(1), 41-61.

ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ. (2564). การออกแบบเครื่องประดับเงินเชิงสร้างสรรค์ : แรงบันดาลใจจากความสวยงามของอัตลักษณ์ล้านนา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 308-329.

ภาวิณี ศิริโรจน์ และขวัญรัตน์ จินดา. (2564). การศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของประดับตกแต่งบ้าน. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 24(2), 11-23.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2562). รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขางานฝีมือและหัตถกรรม โครงการจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์: สาขางานฝีมือและหัตถกรรม. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สุทัน อนุรักษ์ และอาคีรา ราชเวียง. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงินเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา อุบลชาติศรัทธาทิพย์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 35-46.

สุภาพร วิชัยดิษฐ์, ศกลวรรณ คงมานนท์และพุธรัตน์ บัวตะมะ. (2565). การเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาผ้าทอท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. Journal of Modern Learning Development, 7(3), 347-364.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2561). อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุษา อินทร์ประสิทธิ์. (2561). ความพึงพอใจการพัฒนารูปแบบเครื่องประดับเงินโบราณ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารปาริชาต, 31(3), 225-236.

Chematony, L. D., Riley, F. D. O., & Harris, F. (1998). Criteria to assess brand success. Journal of Marketing Management, 14(7), 765-781.

Howkins, J. (2013). The Creative Economy: How People Make Money from Ideas. London: Penguin Books.

Janchai, D. (2004). Marketing Strategy: Big fish eat small fish. Bangkok: SE-Educations.

Nilson, B. H., Solomon, A., Björck, L., & Akerström, B. (1992). Protein L from Peptostreptococcus magnus binds to the kappa light chain variable domain. Journal of Biological Chemistry, 267(4), 2234-2239.

Tipphachartyothin, P. (2014). Quality Control: The importance of consistency. Journal of Productivity world, 19(110), 91-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

กันหามิ่ง ย., บุญอนนท์ ร., แสงงาม ช., & ทองธรรมชาติ ท. (2024). การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจงานฝีมือเครื่องเงินจากปัญญาฐานรากสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงบ้านคลองเตย อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(3), 1–15. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/272289