การตลาดดิจิทัลและส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การตลาดดิจิทัล , ส่วนประสมทางการตลาดบริการ , การตัดสินใจ , สมาร์ทโฟนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการตลาดดิจิทัลและส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการตลาดดิจิทัล ส่วนประสมทางการตลาดบริการและการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้สมาร์ทโฟน จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การตลาดดิจิทัลด้านเว็บไซต์ การครองหน้าแรก และสื่อสังคมออนไลน์ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสมทางการตลาดบริการด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนได้ ในส่วนของระดับความคิดเห็นของเครื่องมือการตลาดดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความคิดเห็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนในภาพรวมอยู่ในระดับมากประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย 1) เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ดำเนินธุรกิจด้านสมาร์ทโฟน สามารถนำผลวิจัยไปปรับใช้การทำการตลาดแบบดิจิทัลและส่วนประสมทางการตลาดบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นมีความแม่นยำและตรงใจผู้บริโภค 2) เพิ่มเติมองค์ความรู้ทางวิชาการ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
References
กนกกาญจน์ คำบุญชู และธนัสถา โรจนตระกูล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนานโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปปฏิบัติ จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(20), 349-367.
กฤษณ์ โอฬารเลิศกุล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ยี่ห้อซัมซุงของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
ชนินทร์ มหัทธนชัย. (2561). การบูรณาการตลาดดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์หนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ม.ป.พ.
ชื่นสุมล บุนนาค. (2559). ความพึงพอใจในปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม (โชวห่วย) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 66-91.
ณัฐนี คงห้วยรอบ. (2559). การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์บนเว็บไซต์ LAZADA ในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2559). Digital Marketing: Concept & Case Study. กรุงเทพฯ: ไอดีซี พรีเมียร์.
ทรงพล ชุมนุมวัฒน์. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผู้ค้าปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนที่มีผลต่อการเลือกใช้ของนิสิต-นักศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธีราพร เดชเหลา. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสารสนเทศบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนา สวัสดี. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2559). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภัทริกา ลาภชัยเจริญกิจ. (2562). การตลาดดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไอทีผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วัลภา รักบำรุง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการเลือกใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศุภนารี พิรส และธรรศนวัตร์ ไชยเยชน์. (2565). จริยธรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(1), 1-17.
สิรินทร์ สุขหงส์ทอง. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน จากบริษัทแอปเปิ้ล จำกัด ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
สิทธิศักดิ์ สุวรรณี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (SMARTPHONE) ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เสาวภาคย์ วิปุโร. (2558). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครสมุทรสาครต่อการซื้อสมาร์ทโฟน (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
หทัยชนก ว่องเจริญพร. (2565). การตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
Chaffey, D. (2013). Definitions of E-marketing vs Internet vs Digital marketing, Smart InsightBlog. Retrieved February16, 2020, from https://www.smartinsights.com/digital-marketing-strategy/online-marketing-mix/definitions-of-emarketing-vs-internet-vs-digital-marketing/
Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). New Jersey: Prentice- hall.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control (9th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง