การศึกษาการรับรู้และเจตคติของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการถ่ายโอนภารกิจตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ผู้แต่ง

  • กิติยรัตน์ จันทร์หอม คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • โชติ บดีรัฐ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การรับรู้ , เจตคติ , การถ่ายโอนภารกิจ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และเจตคติของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก และปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากประชากรทั้งหมด 465 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนมาและเจตคติต่อพระราชบัญญัติโรงงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,t-test, One Way Analysis of Variance และ Schefte ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพิษณุโลกต่อภารกิจที่ได้รับถ่ายโอนมาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) เจตคติของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพิษณุโลกต่อพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  3) ผลการเปรียบเทียบระดับการรับรู้กับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน มีระดับการรับรู้ความรู้และความเข้าใจในภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนมาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) ผลการเปรียบเทียบระดับเจตคติกับปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน มีระดับระดับเจตคติต่อพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 5) ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนมาได้แก่เรื่องขาดผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน

References

กนกพร บุญอนัตบุตร. (2560). การศึกษาความรู้และพฤติกรรมของผู้บริโภคน้ำมันปลาในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย. สืบค้น 10 มกราคม 2565, จาก:https://www.dga.or.th/wpcontent/uploads/.

ชนัญฑิดา มูลชีพและกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การศึกษา ความรู้ เจตคติและการปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ของบุคลากรส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 39-52.

ชิดชนก ทองไทย. (2556). การรับรู้ และทัศนคติ ที่มีผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียนของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ณัชชา เจริญไชย. (2562). การรับรู้ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ตุลยวดี หล่อตระกูล. (2563). ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 12(1), 64-72

นิตยา สุภาภรณ์. (2552). การรับรู้ของประชาชนต่อความอยู่ดีมีสุขในชุมชนบางไผ่. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ปิยพร กิตติเวช. (2561). ปัญหาการกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงานศึกษากรณีการโอนอำนาจในการกำกับดูแลโรงงานที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมต่ำกว่าห้าสิบแรงม้าตามร่างพระราชบัญญัติโรงงาน(ฉบับที่..) พ.ศ.....ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน.

พวงผกา บุญโสภาคย์. (2526). คำบรรยายกฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.

ลลิตา พรหมปั้น. (2564). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดไทยในงานสร้างเสริมสุขภาพ.(วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วาสนา ยี่รงค์. (2563). การถ่ายโอนภารกิจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการถ่ายโอน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 18(2), 27-57.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5 th ed.). New York: Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite