การวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรคและแนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านหมู่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • วิชิต เอียงอ่อน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • อลิษา ประสมผล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

บัญชีครัวเรือน , สภาพปัจจุบัน , แนวทางการพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน  2) วิเคราะห์สภาพปัญหาอุปสรรค และ 3) ศึกษาแนวทางในการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านหมู่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method)  ใช้แบบสอบถามและการสนทนา กลุ่มย่อย เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครัวเรือนในพื้นที่ชุมชนบ้านหมู่ 1 จำนวน 186 ครัวเรือน ๆ ละ 1 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
การสนทนากลุ่มย่อยเป็นตัวแทนจากภาครัฐ หัวหน้าชุมชนและตัวแทนครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 9 คน ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันไม่มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน สาเหตุหลัก ๆ ไม่มีเวลาในการจัดทำ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี  ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ เคยเข้ารับการอบรมรวมถึงเคยได้รับการแจกคู่มือ สมุด เอกสารการจัดทำบัญชีครัวเรือน สภาพปัญหาและอุปสรรค ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ยังสับสนและไม่เข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนการสนทนากลุ่มย่อย พบว่า แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือน ควรมีการเชิญชวน ส่งเสริม สร้างทัศนคติที่ดี สร้างผู้นำต้นแบบ เช่น หัวหน้าชุมชน เพื่อเป็นตัวอย่างการจัดทำบัญชีครัวเรือน จัดอบรมให้ความรู้และติดตามผลหลังอบรมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสร้างแหล่งเรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือนในชุมชน

References

กิติญพัฒน์ ล้อมฉิมพรี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนชุมชนบ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ จังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ฐณดม ราศีรัตนะ. (2557). การจัดทำบัญชีครัวเรือนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ทำนาในบ้านแดงน้อย หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 9 (30), 72-84.

พระณัฐวุฒิ พันทะลี, พระธัญวัฒน์ จิรวฑฒโน และพระครูอโศกสุธรรมวงษ์. (2563). วิถีชีวิตใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(3), 54-65.

ธีร์วรา สุตัณฑวิบูลย์, นัยนา แคล้วเคลือ, พรสิริ สุขผ่อง, ยุพา สะรุโณ และลำไย มีเสน่ห์. (2562). การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษบกิจพอเพียง เพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี. วารสารบัญชีปริทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 4(2), 58-71.

ธรรญชนก นิลมณี, ศรีสมร ผ่องพุฒิ, จุฑามาศ แซ่หว่อง และอรพินท์ อิ่มจงใจรักษ์. (2558). การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี (รายงานวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2564). บทวิเคราะห์เศรษฐกิจประจำสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564, จาก http://www.krungsri.com/th/resarch/maccroeconomic/weekly/weekly-21015

นภาพร ลิขิตวงศ์ขจร. (2550). บัญชีครัวเรือน: เครื่องมือเศรฐกิจพอเพียง. วารสารศูนย์บริการวิชาการ, 15(3), 25-29.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุปผา คำนวณ. (2563). รูปแบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(3), 28-40.

ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์. (2562). แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนสู่การสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีภายใต้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปาริชาติ มณีมัย, ชลันธร ศรีธรรมโชต, ภัทรพล วรรณราช และระวิวรรณ สุขพิลาภ. (2561). การจัดทำบัญชีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีเกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตำบลนาข้าวเสียอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารพัฒนาสังคม, 20(2), 18-33.

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). บัญชีครัวเรือน เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2555, 7(1), 20-28.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564, จาก https://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/sufficiency-economy.html

ลักขณา ดำชู. (2562). แนวทางการส่งเสริมศักยภาพการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา, ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ครั้งที่ 12 (หน้า 1009-1015). ชลบุรี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.

เอกณรงค์ เรืองรัตน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและแนวทางการส่งเสริมการจัดทำบัญชีรายรับ -รายจ่ายในครัวเรือนของคนทำงาน ในเขตบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เอมอร ไมตรีจิตร์. (2559). การยอมรับการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนในตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารจันทรเกษมสาร, 22(42), 13-20.

เอมอร แสวงวโรตม์. (2557). แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้านในเขตห้วยจระเข้มาก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 30-39.

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570). สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564, จาก https://drive.google.com/file/d/view

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). USA: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite