การพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในบริบททุนทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านหาดเสลา ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
การจัดการ , การท่องเที่ยวโดยชุมชน , ทุนทางวัฒนธรรมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททุนทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหาดเสลาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อนำไปสู่การจัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหาดเสลา ตำบลเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์และการบันทึกภาคสนาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการร้านค้า ผู้นำชุมชน และผู้ดูแลจัดการชุมชนบ้านหาดเสลา จำนวน 15 คน ผลการวิจัย พบว่า บริบททุนทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหาดเสลา มีทุนวัฒนธรรมของชุมชนที่สัมผัสได้ และไม่สามารถสัมผัสได้ ชุมชนอยู่ติดริมแม่น้ำปิง มีวัฒนธรรมไทย ญวน มอญ ไทยทรงดำ คริสต์และจีน ที่อยู่รวมกันบนวิถีของความเรียบง่ายและการรวมกันของหกวัฒนธรรม ด้านการพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของชุมชน โดยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ BCG Model เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับวัฒนธรรมของชุมชนได้ ซึ่งชุมชนมีจุดแข็งใน ด้านแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งด้านวัฒนธรรม ด้านการเกษตร มีการรวมตัวของคนในชุมชนและ หน่วยงานภาคี มีจุดอ่อนด้านการบริหารจัดการ ด้านโครงสร้างการบริหารงานด้านการท่องเที่ยวที่ขาดความชัดเจน แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหาดเสลาจึงต้องกำหนดผู้รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เน้นการบูรณาการการทำงาน ระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผ่านการสร้างความเข้าใจและการถ่ายทอดจากระดับนโยบาย สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่าย และส่งเสริมให้นำทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหาดเสลา มาสร้างสรรค์ต่อยอด ให้เกิดเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชน
References
ณัฐชา ลี้ปัญญาพร และปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2564). การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่ง ในมิติการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนบ้านทุ่งสีหลง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 176-195.
ปรัชญากรณ์ ไชยคช. (2565). การศึกษาเพื่อยกระดับระบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปิรันธ์ ชิณโชติ, และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 9(1), 252-253.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิต และธรรมชาติ.
พจนา สวนศรี และสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
ภาวณา เขมะรัตน์. (2550). บทวิจารณ์และแนะนำหนังสือ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 47(1), 195-196.
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2556). ทุนทางสังคมกับแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาชาวไทยพวน อ.ปากพลี จ.นครนายก. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, 16, 225-235.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ยุทธศาสตร์ชาติ. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2019/04/05-การท่องเที่ยว.pdf
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์. (2563). โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหาดเสลา จังหวัดนครสวรรค์. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://anyflip.com/cyycc/pyoo/basic.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). โมเดลเศรษฐกิจ บีซีจี. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. สิบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566. จาก https://tatreviewmagazine.com/article/cbt-thailand/
Bourdieu, P. (1986). The forms of capital. In J. Richardson (Ed.) Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education. New York: Greenwood Press.
Patmasiriwat, D. (2004). A survey of the status of knowledge and the development of cultural capital and local knowledge to human resource development: progress report of the first study. Phitsanulok, Naresuan University.
Samudavanija, C. (1997). Cultural as capital. Bangkok: p. Press.
Throsby, C. D. (2001). Economics and culture. Cambriกdge: Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง