การพัฒนาระบบแจ้งเตือนการชำระเงินค่ามิเตอร์ของผู้ขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ สำหรับแผนกบริการลูกค้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนครราชสีมา 3 (สุรนารี) แบบเรียลไทม์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ชธีวาภัทร เทพเกาะ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • จักรกฤษ เพ็ชรไทย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ธนชนก ชะนะมา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • นนทพัทธ์ ศิริศาตร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ปิยะดา เลาะสันเทียะ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

ระบบอัตโนมัติ , การแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ , สื่อสังคมออนไลน์ , แดชบอร์ด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบแจ้งเตือนการชำระเงินค่ามิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ซึ่งงานวิจัยนี้มีการนำโปรแกรมพาวเวอร์ออโตเมท ทำงานร่วมกับโปรแกรมแอปสคริปต์ เข้ามาช่วยให้ระบบมีความเป็นอัตโนมัติ อีกทั้งยังนำแอปพลิเคชันการแจ้งเตือนไลน์นอติไฟล์ มาสนับสนุนกระบวนการทำงานของพนักงาน พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในรูปแบบของแดชบอร์ด ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.72, S.D.=0.358) และความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (gif.latex?\bar{x}=4.28, S.D.=0.387) โดยระบบช่วยให้การคลิก กรอกข้อมูล ดาวน์โหลด รวมทั้งแปลงไฟล์จากระบบบริการลูกค้าอัจฉริยะ (SCS) ที่พนักงานแผนกบริการลูกค้าใช้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ อีกทั้งในส่วนของการแจ้งเตือน สามารถแจ้งรายละเอียดได้อย่างทันทีทันใด มีความถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้ระยะเวลาในการจัดทำเอกสารเพื่อติดตั้งมิเตอร์ให้กับผู้ขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ลดลง ลดปัญหาข้อร้องเรียนในการให้บริการล่าช้า และการทำงานในส่วนของแดชบอร์ดสามารถช่วยในการสืบค้นข้อมูล และสรุปผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กนกกร ประสงค์ธนกิจ. (2563). ทำความรู้จัก Dashboard คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ทำไมควรทำ?. สืบค้น 6 กันยายน 2565, จาก https://techsauce.co/tech-and-biz/what-is-dashboard

จรัสชัย สิทธิศักดิ์, พรทิพย์ ใจแก้วทิ, ปริญญาพร สิงหเดช และธิดารัตน์ วุฒิศรีเสถียรกุล. (2566). การพัฒนาระบบการจองผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเพื่อวางแผนการผลิต. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 5(1), 32-45

ชนันธร ศรนุรักษ์ (2563). การประยุกต์ใช้ระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติในหน่วยงานสนับสนุนเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย กรณีศึกษา ธนาคารเอบีซีสายงานปฏิบัติการ (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนพจน์ ตันติสุขุมาลย์. (2563). การพัฒนาระบบคืนสินค้าของลูกค้าโดยใช้โปรแกรม Power App. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://e-research.siam.edu/kb/developing-customer-product-return-system/

สมยศ โกรัมย์. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพระบบติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าวิชาวิจัยด้วยกลไกการแจ้งเตือน. (สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สิทธิโชค สินคุ่ย. (2562). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังฝุ่นละอองขนาดเล็กและคุณภาพอากาศ โดยใช้เทคโนโลยี IoT ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. สืบค้น 6 กันยายน 2565, จากhttps://www.agi.nu.ac.th/nred/Document/is-PDF/2562/geo_2562_017_FullPaper.pdf

อิทธิพล จันทร์รัตนกุล, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย์ นิยมญาติ และทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2564). บทบาทของหน่วยงานภาครัฐต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 222-234.

อุทุมพร มณีวรรณ์, มลฑาทิพย์ ทาษรักษา และเอกสิทธิ์ ปัญญามี. (2563). การพัฒนาระบบแจ้งเตือนวันกำหนดส่งคืนหนังสืออัตโนมัติผ่านไลน์แอปพลิเคชัน. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2565, จาก https://pulinet2021.pulinet.org/uploads_file_completely/2020-12-29/stefany-IS.pdf

Elena. (2565). Notifications (การแจ้งเตือน). สืบค้น 5 กันยายน 2565, จากhttps://help.crowdtangle.com/en/articles/3275634-notifications

LINE Corporation. (2560). ไลฟ์ ออนไลน์ (Life on LINE) – เคียงข้างคุณเสมอ. สืบค้น 10 กันยายน 2565, จาก https://line.me/th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite